ReadyPlanet.com


ษัฑพละ


จาก Mina

อาจารย์ที่รู้จักและนับถือท่านหนึ่งได้แนะนำเรื่องเกี่ยวกับ ษัทพละ ให้Minaได้อ่าน เมื่ออ่านจบแล้วก็อยากแบ่งปันให้ผู้สนใจได้ติดตามกัน เผื่อว่าเนื้อหาจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาได้บ้าง

หากมีข้อข้องใจอะไรก็โพสต์ถามได้เลยค่ะ

เดี๋ยวอาจารย์ที่ให้ตำราMinaมาก็จะเข้ามาอธิบายเองค่ะ
(พอดียังศึกษาอยู่ไม่แตกฉานค่ะ เลยขอทำหน้าที่แค่นำตำรามาโพสต์ ส่วนภาคอธิบายขอยกให้อาจารย์ท่านค่ะ อิ อิ อิ)

ปล.เนื่องจากตำราที่ได้มาเป็นภาษาอังกฤษ และ Mina มีความสามารถในการแปลจำกัด อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกพิกลกับภาษาไทยที่แปลมาในบางตอนก็ขออภัยล่วงหน้าค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ตาบอดส่องตะเกียง :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :



ความคิดเห็นที่ 15 (1773)

4. เจษฏะพละ (CHESTA BALA)
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่ยากที่จะอธิบายความเป็นมาของการพิจารณาการให้ค่าหน่วยกำลังอย่างย่อๆ ดังนั้นเพื่อความสะดวก เราจะพูดแค่ว่า
o ดาวที่เคลื่อนตัวช้า (among them retrograde planets) จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละสูง
o ดาวที่เคลื่อนตัวเร็ว จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละ น้อย
- เหตุผลของการให้ค่าหน่วยกำลังนี้คือดาวที่เคลื่อนตัวช้าย่อมสามารถสะสมรวบรวมพลังงานได้มาก เพราะดาวจะไม่ค่อยเคลื่อนตัว
- หน่วยคะแนนสูงสุดที่จะได้รับคือ 60 ษัทฎิอัมศะ
- เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเคลื่อนตัวของดาวแต่ละดวงในที่นี้ จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของดาวนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ดาวเสาร์ซึ่งกำลังเคลื่อนตัวเร็ว(เสริด)จะได้ เจษฏะพละ ต่ำในขณะที่ ดาวพุธซึ่งกำลังเคลื่อนตัวช้า(มนท์) จะได้ เจษฏะพละ สูงกว่า
- พระอาทิตย์และพระจันทร์จะไม่ได้รับ เจษฏะพละ เลย เพราะดาวทั้งสองเคลื่อนตัวค่อนข้างเป็นแบบแผน และไม่มีการพักร์ เสริด มนท์

5. นิสรรคพละ (NAISARGIKA BALA)
การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตาม ค่าความสว่างเจิดจ้าที่แตกต่างกัน ซึ่งดาวแต่ละดวงจะมีค่าหน่วยกำลังที่แน่นอนตามดังนี้ พระอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างจะได้หน่วยกำลังเต็มที่ที่ 60 ษัทฎิอัมศะ ดาวเสาร์ซึ่งมืดหม่นที่สุดจะได้รับ 8.57 ษัทฎิอัมศะ
- หากพิจารณาด้วยหลัก นิสรรคพละ นี้ หน่วยกำลังของดาวแต่ละดวงได้รับ จะเท่าเดิมเสมอ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:29:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 14 (1772)
9. ยุทธพละ (Yuddha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะพบหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันในราศีจักร

- สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือ คำนวนหาค่า สถานะพละ ทั้งหมดร่วมกับ ทีคะพละ,กาละพละ รวมถึง โหราพละ ของดาวทั้งสองดวงนั้น

- จากนั้นเราก็หาค่าหน่วยกำลังที่ต่างกันของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงได้

- ค่าหน่วยกำลังที่ต่างของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงนี้จะถูกแบ่งเป็นโดยค่าต่างของหน่วยวัดของดาวทั้งสองตามที่เห็นบนท้องฟ้า (difference between the diameters of the two planets as seen in the sky)

- ผลการคำนวณที่ได้คือ ยุทธพละ

- ค่าที่ได้นี้จะต้องนำไปรวมกับ ผลรวมของ กาละพละ ของดาวที่มีคะแนนมากกว่า (ผู้ชนะ) และนำค่าเท่ากันนี้ไปลบออกจากดาวผู้แพ้

- เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจเปรียบการให้หน่วยกำลังในระบบนี้เหมือนการให้คะแนนในการเล่นเกมก็ได้ ผู้ชนะจะได้รับคะแนนพิเศษเพิ่ม ในขณะที่ผู้แพ้ก็โดนหักคะแนน เมื่อคำนวณค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว เราจะนำค่าสรุปที่ได้นี้ไปบวกเพิ่มกับค่ารวมของกาละพละ
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:28:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 13 (1771)

7. โหราพละ (Hora Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามหน่วย โหรา ดาวที่เป็นเจ้าโหราของเจ้าชะตาจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
- ในหนึ่งวันจะแบ่งได้เป็น 24 ชั่วโมงหรือโหรา แต่ละ โหราจะปกครองโดยดาวแต่ละดวง โหราแรกจะปกครองโดยดาวที่ปกครองวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น วันจันทร์ โหราแรกจะปกครองโดยพระจันทร์ และตามด้วยดาวอื่นๆตามลำดับของสัปดาห์ (ตามตัวอย่างนี้จะตามด้วยดาวอังคาร ดาวพุธ ฯลฯ) หากเจ้าชะตาเกิดในที่ห่างไกลจากศูนย์สูตร ช่วงของโหราจะไม่เท่ากัน เพราะหน่วยเวลาโหราจะแบ่งเป็น 12 โหราในช่วงเวลากลางวัน และ 12 โหราในช่วงเวลากลางคืน

8. อะยะนะพละ (Ayana Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งหากจะอธิบายอย่างละเอียดจะยาวเกินไป การนับหน่วยกำลังในระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร
o ถ้าดาวเคราะห์ใดมีค่าเบี่ยง มุมเอียง เป็น 0 อะยะนะพละ ที่ได้รับเป็น 30 ษัทฎิอัมศะ
o สำหรับดาวศุกร์ พระอาทิตย์ อังคาร และ ดาวพฤหัส ในทิศเหนือ (Northern declinations) จะได้รับค่าเพิ่ม แต่หากอยู่ในทางใต้จะถูกลบออกไป ( ดาวเคราะห์ในกลุ่มนี้จะได้ อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ สูงหากอยู่ทางเหนือ)
o ดาวเสาร์และพระจันทร์ จะตรงข้ามกับกลุ่มดาวที่กล่าวมา คือจะได้รับ อะยะนะพละ สูงหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ทางเหนือ
o สำหรับดาวพุธมักจะได้รับหน่วยกำลังจากการโคจรเบี่ยงนี้เสมอ (ไม่มีการหักออก ไม่ว่าจะเบี่ยงเหนือ-ใต้)

- หน่วยคะแนนที่สูงสุดในการนับหน่วยคะแนนในระบบนี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ
- กฏพิเศษคือ อะยะนะพละ ที่ได้ของพระอาทิตย์จะได้รับการคูณสองเสมอ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:27:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 12 (1770)

4. สัปดาห์พละ (Abda Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าปี (lord of the year) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
- ดาวเจ้าปี คือดาวที่เป็นเจ้าวันในวันแรกของปี ยกตัวอย่างเช่นวันแรกของปีเป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นๆจะปกครองโดยพระอาทิตย์ (พระอาทิตย์เป็นดาวประจำปี) กฎเกณฑ์นี้อาจข้ามยกเว้นไปได้เนื่องจากคัมภีร์โบราณให้คำนวณตั้งแต่วันสร้างโลกว่าเป็นวันอะไร จนถึงยุคสมมุติ ว่าเริ่มต้นจากวันอะไรโดยปัจจุบันนี้อยู่ในยุค กาลียุค โดยยุดนี้เริ่มต้นประมาณ 4000 ปีมาแล้ว วันเริ่มยุคถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นวันพุธ แล้วมาเฉลี่ยต่อปี ก็จะรู้ได้ว่าปีนี้เริ่มจากวันอะไรแล้วถือว่าวันนั้นมีกำลังสูงสุดในปีนั้น

5. มาศพละ (Masa Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิดจะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ

6. วารพละ (Vara Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวันจะได้รับ 45 ษัทฎิอัมศะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:26:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 11 (1769)
3. ไตรภาคพละ (Thribhaga Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากการแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยช่วงเวลากลางวัน (หมายถึงช่วงที่อาทิตย์อุทัยถึงอาทิตย์ลับฟ้า) สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเท่าๆกัน และช่วงเวลากลางคืน ก็สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเช่นกัน (เวลากลางคืนนี้นับเฉพาะ ช่วงพระอาทิตย์ลับฟ้าถึงพระอาทิตย์อุทัยเท่านั้นเช่นกัน)
o การให้หน่วยคะแนนในระบบนี้ ดาวพฤหัสจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ เสมอ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางวัน ดาวพุธจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางวัน พระอาทิตย์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางวัน ดาวเสาร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางคืน พระจันทร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางคืน ดาวศุกร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางคืน ดาวอังคารจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
เราอาจสังเกตเห็นบางอย่างที่น่าสนใจในการให้หน่วยกำลัง ของษัฑพละ และนี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ข้อสังเกตในสิ่งเชื่อมโยงระหว่างการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ไตรภาคพละ นี้และการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ทีคะพละ
- ช่วงแรกของวันจะเป็นช่วงที่ให้ประโยชน์แก่ดาวพุธ
- เที่ยงวันให้คุณกับพระอาทิตย์
- ดาวเสาร์จะแข็งแรงสุดๆเมื่ออยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับลัคนา (จุดที่พระอาทิตย์ตก – ascendant: the place of the evening Sun)
- พระจันทร์และดาวศุกร์ก็แข็งแกร่งในเวลากลางคืน
อย่างไรก็ตาม ใน ทีคะพละ ไม่ได้ให้ค่าความแข็งแรงของ ดาวอังคารตามเกณฑ์ให้คุณนี้
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:25:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 10 (1768)
2.ปักษพละ (Paksha Bala) ช่วงหนึ่งปักษ์ เท่ากับ 15 วันตามจันทรคติ (lunar days) เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างขึ้น (the Moon is increasing) จะเป็น ศุกรปักษ์ (Sukla Paksha) เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างแรม (the Moon is decreasing) จะเป็น กฤษณปักษ์ (Krishna Paksha)
o ดาวศุภเคราะห์ที่จะได้รับคุณคือ พฤหัส,ดาวศุกร์และดาวจันทร์ (นับจากวันขึ้นแปดค่ำ ถึงแรมแปดค่ำ รวมถึงดาวพุธด้วย ดาวเหล่านี้จะมีพลังเข้มแข็งในช่วง ศุกรปักษ์
o ดาวกลุ่มบาปเคราะห์คือ พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร ดาวเสาร์ รวมถึง ดาวพุธที่เสียและ ดาวจันทร์ จะเข้มแข็ง ในช่วง กฤษณปักษ์ แรมแปดค่ำ ถึงขึ้นแปดค่ำ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง ศุกรปักษ์ ดาวศุภเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวบาปเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง กฤษณปักษ์ ดาวบาปเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวศุภเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย
o หน่วยกำลังสูงสุดที่จะได้รับจากเกณฑ์นี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ
o พระจันทร์จะได้รับกำลังเป็นสองเท่าเสมอ
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:25:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 9 (1767)
1.ทิวาราตรีพละ (Divaratri Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากเวลากลางวันกลางคืน

- พระจันทร์ ดาวเสาร์และ ดาวอังคาร ซึ่งมีกำลังมากในเวลาเที่ยงคืน แต่จะอ่อนพลังจนหมดในเวลาเที่ยงวัน ดาวเหล่านี้เป็นดาวบาปเคราะห์ (หมายความว่าพระจันทร์ เสาร์ อังคารมีกำลังตอนกลางคืน เพราะกลางคืนมองเห็นพระจันทร์ กลางวันจะมองไม่เห็น อาทิตย์ก็เช่นกัน ดังนั้นคนที่เกิดกลางคืน ถึงพระอาทิตย์จะเด่นเป็นมหาอุจน์ก็ไม่ได้กำลังตามความหมายนี้)

- พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์ จะมีพลังระหว่างกลางวัน เที่ยง และหมดพลังในช่วงเที่ยงคืน ดาวเหล่านี้เป็นศุภเคราะห์

- ดาวพุธนักปรับตัวได้รับการพิจารณาว่ามีพลังตลอดวันตลอดคืน (ตามหลักดาราศาสตร์ดาวพุธจะอยู่ใกล้อาทิตย์มากที่สุดโดยระยะห่างและจะห่างกันไม่เกิน 3 ราศี แสดงว่าพุธได้รับการถ่ายทอดกำลังจากอาทิตย์ตลอดเวลา และทำให้มีกำลังทั้งกลางวันกลางคืน ดังนั้นจึงไม่มีเพศ) นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาโดยเกณฑ์นี้
o ดาวพุธจะได้คะแนนสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ
o พระจันทร์ ดาวเสาร์และดาวอังคารจะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงคืนและจะไม่ได้หน่วยกำลัง หากเกิดเวลาเที่ยงวัน
o พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์จะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงวันและไม่ได้รับหน่วยกำลังใดๆหากเกิดในเวลาเที่ยงคืน
o หากเจ้าชะตาเกิดในเวลาที่อยู่ระหว่างนั้น ค่าหน่วยกำลังก็จะเฉลี่ยๆไป (the value is interpolated)
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:24:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 8 (1766)
3. กาละพละ (KALA BALA)
วิธีนี้จะวัดความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงจากช่วงระหว่างวัน กำลังในแต่ละเวลา โดยจะพิจารณาให้หน่วยกำลังตามเงื่อนไขต่อไปนี้
1. ทิวาราตรีพละ (Divaratri Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากเวลากลางวันกลางคืน

2. ปักษพละ (Paksha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากช่วงหนึ่งปักษ์ เท่ากับ 15 วันตามจันทรคติ (lunar days)

3. ไตรภาคพละ (Thribhaga Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากการแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยช่วงเวลากลางวัน (หมายถึงช่วงที่อาทิตย์อุทัยถึงอาทิตย์ลับฟ้า)

4. สัปดาห์พละ (Abda Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวประจำปี (lord of the year)

5. มาศพละ (Masa Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด

6. วารพละ (Vara Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันที่เจ้าชะตากำเนิด

7. โหราพละ (Hora Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามหน่วย โหรา

8. อะยะนะพละ (Ayana Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร

9. ยุทธพละ (Yuddha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะพบหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันในราศีจักร
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:23:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 7 (1765)
ดาวใดๆจะรับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในกึ่งกลางของภวะ-เรือน (bhava) ซึ่งจะให้คุณมากเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น พระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สี่ จะได้รับ ทีคะ พละ สูงสุดและได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ ถ้าพระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สิบ ได้รับ 0 ษัทฎิอัมศะ
ความซับซ้อนเล็กน้อยคือการพิจารณาในงานของ BV Raman ในเรื่องภวะ (ภวะคือเรือน) ที่ไม่ใช่ราศีจักร จุดกึ่งกลางของแต่ละเรือนใน ภวะจักร (bhava chart) อาจแตกต่างจากจุดกึ่งกลางของเรือนในราศีจักร(ซึ่งนับที่ 15 องศาเสมอ)

- ใน ภวะจักร แต่ละเรือนจะมีช่วงองศาไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถเทียบได้กับเรือนชาตาในแบบโหราศาสตร์ตะวันตก

- ทีคะพละ จะชี้กำลังความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงได้ดีเมื่อดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:23:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 6 (1764)

2. ทีคะพละ – ทิศ (DIG BALA)
หลักสำคัญในการนับคะแนนนี้ใกล้เคียงกับ โอชะพละ เพียงแต่หลักการพิจารณาไม่ได้ใช้ตำแหน่งของดาวในราศีต่างๆแต่ใช้เรือนเป็นเกณฑ์พิจารณาแทน
ดาวแต่ละดวงจะมีกำลังเมื่ออยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง ทีคะพละ หมายถึงกำลังโดยตรง
o พระอาทิตย์และดาวอังคารจะมีพลังมากในทิศใต้ อังคารเป็นอุจน์อยู่ราศีมังกรหรือทิศใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรือนที่สิบ (เรือนที่สิบเป็นส่วนใต้สุดของท้องฟ้า)
o ดาวเสาร์จะให้คุณจะได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศตะวันตกหรือเรือนที่เจ็ด เป็นอุจน์อยู่ตุลย์ตะวันตก
o พระจันทร์และดาวศุกร์จะได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศเหนือ (เรือนที่สี่)
o ดาวพุธและดาวพฤหัสได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศตะวันออกหรือเรือนที่หนึ่งนั่นเอง


เหตุผลในการให้คะแนนคือ

- เวลาเช้าเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ดังนั้นดาวพุธและดาวพฤหัสซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จึงให้คุณแข็งแรงดีในช่วงเวลานี้ (ในเวลาที่พระอาทิตย์ใกล้กับลัคนา ascendant).

- พระอาทิตย์และดาวอังคาร เป็นดาวที่กระตือรือร้น ซึ่งต้องการกำลังเมื่อยามเที่ยงๆบ่ายๆ (ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เดินทางมาถึงประมาณเรือนที่สิบ)

- ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความมืดมิด เงามืด จึงมีแรงในช่วงเย็นย่ำค่ำ (ในเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ตรงข้ามกับลัคนา)

- พระจันทร์และดาวศุกร์ เป็นดาวอ่อนหวานซึ่งมีกำลังดีในช่วงนอนหลับ (ในเวลาเที่ยงคืนพระอาทิตย์จะอยู่ในเรือนที่สี่)

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:22:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 5 (1763)

4. เกณฑ์ พละ(Kendra Bala) การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้พิจารณาจาก เรือนเกณฑ์ [Kendra House] หรือนับจากเรือนจากลัคนาเกิด
o ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 1,4,7 และ 10 จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 2,5,8 หรือ 11 จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
o ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 3,6,9 หรือ 12 จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
เหตุผลในการให้คะแนนคือดาวเหล่านี้อยู่ในเรือนเกณฑ์ ซึ่งสามารถแสดงกำลังได้สะดวก

5. ทเรกกณะ (Drekkena Bala) การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้พิจารณาจากเพศของดาว
ดาวเพศชายคือ พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร และดาวพฤหัส
ดาวเพศกลางคือ ดาวพุธ และดาวเสาร์
ดาวเพศหญิงคือ พระจันทร์และดาวศุกร์

o ถ้าดาวเพศชายอยู่ใน ปฐมตรียางค์ (0-10 องศาของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
o ถ้าดาวเพศกลางอยู่ใน ทุติยะตรียางค์ (10-20องศา ของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
o ถ้าดาวเพศหญิงอยู่ใน ตติยะตรียางค์ (20-30องศา ของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
เหตุผลในการให้คะแนนคือ ปฐมตรียางค์ ของแต่ละราศีเป็นองศาที่ให้คุณกับดาวเพศชาย ทุติยะตรียางค์ ให้คุณกับดาวเพศกลาง ส่วน ตติยะตรียางค์ ให้คุณกับดาวเพศหญิง

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:21:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 4 (1762)
3. อุชะยุคมะพละ (Ojayyugma Bala) การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้ต้องคำนึงถึงตำแหน่งว่าอยู่ในนวางค์และ ราศี ว่าเป็นคู่หรือคี่
o พระจันทร์และดาวศุกร์จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ เมื่อเสวยนวางค์คู่ หรือ อยู่ในราศีคู่
o หากดาวทั้งสองอยู่ทั้งราศีคู่และนวางค์คู่ จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
เหตุผลในการให้คะแนนพิเศษนี้เพราะดาวทั้งสองเป็นเพศหญิง ย่อมแข็งแกร่งเมือได้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นหญิง (คู่) ไม่ว่าจะในราศีหรือนวางค์
o พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร, ดาวพุธ ,ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ เมื่อเสวยนวางค์คี่ หรือ อยู่ในราศีคี่
o หากดาวเหล่านี้อยู่ทั้งราศีคี่และเสวยนวางค์คี่ จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
ดาวเหล่านี้เป็นมีทั้งที่เป็นเพศชายและเป็นกลาง ซึ่งจะเข้มแข็งในราศีคี่
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:20:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 3 (1761)
2. ส่วนที่สองเรียกว่า สัปตวรรคพละ (Saptavargaja Bala) การคำนวณหากำลังส่วนนี้เราต้องพิจารณาจากความสมดุลของความสัมพันธ์เจ็ดอย่างคือ
ราศี (Rasi)
โหรา (Hora)
ทเรกกณะ (Drekkana) - [ตรียางค์]
สัปตางศะ (Saptamsa)
นวางค์ (Navamsa)
ทวาทศางศะ (Dwadasamsa)
ตริมฺศางศะ (Trimsamsa)
หมายเหตุ - ในผังเหล่านี้เราจะต้องพิจารณาว่าดาวนั้นๆอยู่ในสัญลักษณ์อะไร
o ถ้าดาวนั้นในอยู่ในราศีที่เป็นมูลตรีโกณของตัวเองจะได้ 45 ษัทฎิอัมศะ (นี่เป็นกฎพิเศษสำหรับการเทียบราศีเท่านั้น)
o ถ้าดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง (ไม่ว่าวรรคไหน) ก็ได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
o ถ้าดาวนั้นอยู่ในราศีคู่มิตรใหญ่จะได้รับ 22.5 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีคู่มิตรจะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีที่เป็นกลางจะได้รับ 7.5 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีคู่ศัตรูจะได้รับ 3.75 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีอภิศัตรู/คู่ศัตรูใหญ่จะได้รับ 1.875 ษัทฎิอัมศะ
การพิจารณาในส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ ษัฑพละ เพราะ สัปตวรรคพละเป็นส่วนที่จะให้ค่าหน่วยกำลังได้มากที่สุด
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:20:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (1760)
1. สถานะพละ (STHANA BALA)
เราจะเริ่มจากการคำนวณหาษัฑพละของดาวดวงหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแน่งความเข้มแข็งของดาวดวงนั้นๆ ษัฑพละจะประกอบด้วยส่วนประกอบ ห้าส่วนดังนี้ :
1. ส่วนที่หนึ่งเรียกว่า อุชะพละ (Ocha Bala) การให้หน่วยกำลังจะพิจารณาจากองศาของดาว
o เมื่อเริ่มบทเรียน โหราศาสตร์แห่งพระเวท (Vedic Astrology) เราทราบกันดีแล้วว่าดาวแต่ละดวงจะมีจุดปรมอุจน์ ที่องศาที่ 3 ราศีพฤษภ เมื่อดาวดวงนั้นได้ตำแหน่งที่องศาพอดี ดาวดวงนั้นจะได้กำลัง 60 ษัทฎิอัมศะ (Shashtiamsas)
o แต่ถ้าดาวดวงนั้นครองตำแหน่งตรงกันข้ามกับที่กำหนดไว้ ดาวดวงนั้นจะไม่มีหน่วยกำลังเลย
o และแน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วดวงดาวอาจจะครองตำแหน่งคาบเกี่ยวในระหว่างจุดต่างๆเหล่านี้ ในกรณีที่คาบเกี่ยวนี้เราจะคำนวณกำลังตามตำแหน่งที่กำหนดและตำแหน่งที่ดวงดาวครองอยู่ เรียกว่าจุดปรมอุจน์ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ที่ 3 องศาในราศีพิจิก จะได้รับ 0 ษัทฎิอัมศะ ดวงจันทร์ที่ 3 องศาในราศีสิงห์จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ นี่คือตำแหน่งกึ่งกลางระหว่าง 3 องศาราศีพิจิกและ3 องศาราศีพฤกษภพอดิบพอดี).
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:19:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 1 (1759)
ษัฑพละ : กำลังของดาว

ในโหราศาตร์แบบอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคคอมพิวเตอร์นี้ มีวิธีหาตำแหน่งดาวและเรือนได้อย่างรวดเร็วทันใจ มากมาย หนึ่งในนั้นที่จะกล่าวถึงคือ ษัฑพละ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ค่ากำลังของดาวแต่ละดวง ยิ่งดาวไหนได้กำลังมาก ดาวนั้นก็จะยิ่งมีพลังมาก
สิ่งที่สำคัญในการหาค่ากำลังดาวแบบษัฑพละ คือคุณต้องรู้ระบบวิธีการคำนวณเสียก่อน

วิธีการคำนวณษัฑพละนี้มีหลายรูปแบบแต่ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะใช้ตามแบบ B.V. Raman ได้อธิบายไว้ใน book ‘graha and bhava balas’ (กำลังของภวะและดาวเคราะห์)
ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2004-09-24 01:18:00 IP :





แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.