ReadyPlanet.com


เรียนปรึกษา อ.ตาบอดส่องตะเกียง


เรียนปรึกษาว่า ตรียางค์ และนาวางค์จักร ฤกษ์ มีความสำคัญอย่างไรต่อดวงชะตาและควรให้นำหนักที่สิ่งมากกว่ากัน เช่น 7 เป็นประ แต่เมื่อดูตรียางค์หรือนวางค์แล้ว 7 ดี อย่างนี้แล้วจะมีหลักทำนายอย่างไรครับ


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้ด้อยความรู้ :: วันที่ลงประกาศ 2006-12-14 08:44:38 IP : 203.150.148.51


1

ความคิดเห็นที่ 4 (1035198)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 19:09:05 IP : 203.146.127.176


ความคิดเห็นที่ 3 (1033032)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 11:59:41 IP : 203.146.127.178


ความคิดเห็นที่ 2 (734683)

ขอบคุณมากครับ แล้วผมจะค่อย ๆ ศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจ ถ้ามีปัญหาจะเรียนปรึกษาอาจารย์อีกแล้วกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ด้อยความรู้ วันที่ตอบ 2006-12-14 16:08:56 IP : 203.150.148.51


ความคิดเห็นที่ 1 (734429)

ตรียางค์ หรือ นวางค์ หรือ การแบ่งวรรคต่างๆ (การแบ่งย่อยราศี) นั้นเขาไว้ตรวจสอบความเข้มแข็งของดวงดาวว่าเสวยวรรคเดิมกี่วรรค  หรือ เสวยวรรคมิตร-ศัตรูกี่วรรค มันเป็นการตรวจสอบกำลังของดาวแต่ละดวง ซึ่งวิธีตรวจสอบมีหลายแบบซึ่งต้องแยกกันวิเคราะห์แล้วค่อยนำกลับมารวมประเมินที่หลังอีกที

ส่วนฤกษ์นั้นมีผลที่ค่อนข้างสูง เมื่อดาวใดไปเสวยฤกษ์อะไรมันย่อมซึมซับเอาความหมายของฤกษ์และเจ้าฤกษ์มาร่วมด้วย เปรียบเหมือนตัวละครที่มีการเปลี่ยนฉาก เปลี่ยนบรรยากาศเรื่องราว จะกล่าวว่าสิ่งใดสำคัญกว่ากันคงจะกล่าวแบบฟันธงไม่ได้ เนื่องจากเมื่อคุณจะทำนายดวงของทุกสิ่งจะถูกมารวมใช้กันแบบที่คุณไม่รู้ตัว

ตัวอย่างที่คุณยกมา ต้องกล่าวก่อนนะครับว่าผมไม่ใช้ตำแหน่งประสักเท่าไร เนื่องจากผมมองว่าตำแหน่งประนั้นเป็นจุดสมดุลจุดหนึ่งคล้ายเกษตร เพียงแต่เพื่อผู้อื่น

อย่างพระอาทิตย์เป็นเกษตรในราศีสิงห์จะเห็นได้ว่าช่วงเวลานั้นเองเป็นจุดเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน อันนำมาซึ่งการก่อเกิดพืชพันธุ์

พอพระอาทิตย์ดคจรมาอยู่ที่ราศีกุมภ์ มันก็เกิดจุดเปลี่ยนอีก คือ จากหนาวสู่ร้อน ช่วงนั้นถ้าเป็นต่างประเทศเขาก็เรียกว่าฤดูใบไม้ผลิ หลังจากหิมะละลาย ซึ่งก็จะเกิดการก่อเกิดอีก แต่เป็นการก่อเกิดที่แตกต่างออกไป

กลับมาว่ากันที่ถามว่า ๗ เป็นประ แต่ไปดูในนวางค์ ตรียางค์แล้ว ๗ ได้ตำแหน่งดี ก็ต้องแยกประเด็นคิดดังนี้

1. ในราศีจักร มันดีหรือเสียทั้งสิ้นกี่ % ได้ผลลัพธ์เท่าไร ตั้งไว้เป็นข้อ 1

2. ในนวางค์ มันดีหรือเสียทั้งสิ้นกี่ % ได้ผลลัพธ์เท่าไร ก็ตั้งเป็นข้อ 2

3. ในตรียางค์ก็เช่นกัน

แล้วค่อยนำผลของมันมารวมในภาคใหญ่อีกที เปรียบดั่งราศีจักรเป็นผลไม้หนึ่งผล วรรคต่างๆ อาทิ นวางค์ ตรียางค์ ก็เปรียบดังรอยตำหนิหรือรอยเด่น เมื่อเรามองว่าผลไม้ลูกนี้ไม่สวยเลย แต่มีจุดสังเกตว่าเปลือกมันบางอันเป็นข้อหนึ่งที่ทำให้รสชาติมันหวาน ผลแห่งการที่ผลไม้ลูกนั้นไม่สวยก็ลดลง หรือ ถ้าเปลือกมันหนาซึ่งแสดงว่าจะมีรสชาติจืด ก็ย่อมแสดงว่า***ที่ไม่สวยอยู่แล้วยังจะดันไม่หวานอีก เป็นต้น

แยกที่ละประเด็นในการวินิจฉัย อย่าจับมารวมกันเพราะจะทำให้งง ให้ราศีจักรเป็นภาพใหญ่แล้วพวกวรรคต่างๆ เป็นจุดสังเกตตำหนิจะง่ายกว่าในการพิจารณาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2006-12-14 13:51:51 IP : 58.136.93.180



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.