ReadyPlanet.com


เอามาให้จะได้รู้กันทั่ว ๆ


55. อ่ะน่ะ กับยามทั้ง 16     [203.172.51.213]     26 Sep 2004 - 21:41

**ผมยังคิดอยู่หลายคืนว่าคิดถูกหรือผิดที่ มาพัวพันตัวเองอย่างนี้ และคิดอีกว่าจะเบี้ยวไม่ตอบซะดีมั๊ย เพราะเรื่องกำเนิดยาม นี้ ท่านอ.ของผมท่านบอกเป็นปริศนาไว้ แต่ไม่บอกรายละเอียด เพราะท่านเชื่อว่าผมต้องคิดออก จะได้จำเข้าไปถึงสายเลือด และเป็นประโยชน์กับตัวเอง วันหลังมีคนถามจะได้อ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น ให้เขาว่าไม่ได้ว่า วิชาโหรไทยมีแต่ต้นไม่มีราก มีแต่ผลไม่มีดอก อยู่ ๆก็เกิดเอง ไม่มีที่มา และไม่รู้จะไปไหน ซึ่งผมว่าน่าเศร้าใจและละอายถ้ามีใครว่าอย่างนั้น แต่ก็เป็นสิทธิ์ของผมที่จะบอกหรือไม่บอกใคร ถือซะว่าเป็นการไถ่โทษที่ทำให้ท่านสอบตกเสียใจละกัน
**กำเนิดยามอัฐกาลนั้นจังหวะที่เดินมาจากวิชาเลข 7 ตัว ก็ประมาณเรือนนอกเรือนในที่ท่านคุ้นเคยนั่นแหละ ก็จะไม่กล่าวถึงอีก ขอข้ามไป แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อมีปี มีเดือน มีวัน แล้ว แบ่งและกำหนดชื่อแล้ว ยังขาดแต่เวลาแต่จะแบ่งอย่างไร ถึงจะได้จังหวะเดียวกับวันเดือนปี ด้วยความชาญฉลาดของท่าน จึงกำหนดโครงสร้างที่แยบยลขึ้นมา ในการนับและคำนวณ เรียกว่า "นวภัทรบท" คือเกณฑ์ 9
**"นวภัทรบท" คือเกณฑ์ 9 9 อย่างไร คือท่านจัดเลข 1-7 เป็น 2 ชุด แทนภาคกลางวันและกลางคืน ให้เลขเดียวกันในแต่ละภาคห่างกัน9 คือ 2 ภาคกลางวัน ห่างจาก 2 ภาคกลางคืน นับได้ 9 และแบ่งเป็นกลางวันเกณฑ์ 4 กลางคืน 5 รวมกันเป็น 9 ดังนี้
1234567112345671
และถ้าไม่เพิ่มยามประจำวันที่ท้ายภาคทั้ง 2 การนับและเกณฑ์คำนวณจะไม่สมภาคกัน
แล้วจึงนับเวียนขวาทักษิณาวัตรตามธรรมเนียมนิยม ไปตามจังหวะที่ได้จากเลข 7 ตัวคือ
1642753 และ15263741
ก็นับเวียนขวาไปเช่น 1ไป 6 ก็นับจาก 1 ภาคกลางวัน ไป 6 ภาคกลางคืนก็ 1176 หรือถ้า 5 ไป 3 ก็ 54321176543 เป็น 11 เอา 7- ได้ 4 นี่คือกลางวันเกณฑ์ 4 กลางคืนเกณฑ์ 5 นับไป11765 ดังนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดทั้งภาคกลางวันและกลางคืน และเมื่อนับไปแล้วจังหวะของยามกลางวันจะเป็น 4 และ 11 เอา 7 - จะได้ 4 ทุกลำดับยาม ส่วนยามกลางคืน จะนับได้ 5 และ 12 เอา 7 - ได้ 5 เมื่อนับได้ตามจังหวะจนครบแล้วถ้าจะถอดกลับมาให้เป็นการเรียงลำดับ
ตามแบบที่กำเนิดคือ1234567112345671 ก็ต้องคงโครงสร้าง 16 ยาม และมียามซ้ำกัน2 ยามในแต่ละภาค จึงจะถอดกลับมาให้อยู่ในรูปเดิมและจากรูปเดิมไปเป็นยามกลางวันและกลางคืนได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ต้องมี 16 ยาม และต้องมียามซ้ำกัน 4 ยามในแต่ละวัน
(ขอถามเหมือนที่คุณอ่ะนะ ที่ถามว่า ทำไมกำลัง 6 ต้องอาทิตย์)

คำถามนี้พอจะทำให้เข้าใจได้ว่าคุณควรจะพิจจารณาดูให้ดี ๆ ใช้เวลาว่าง ๆ คิดดู ไม่ยากหรอกครับ เป็นเรื่องของการกำเนิดดาวพระเคราะห็ และ ธาตุ ที่กำเนิดตามลำดับและสภาวะที่เป็นไปอย่างต่อเนี่องเท่านั้นเอง เรื่องมหาทักษา มีเกณฑ์คำณวนครับ ไม่ยาก ไม่ง่าย แต่ถูกต้องและพิสูจน์ได้ครับ

ทำไมต้องนวภัทรบท เกณฑ์ 9

เพราะผู้ที่คิดตำราให้เราใช้ท่านใช้เกณฑ์ นี้หาแล้วลงตัวพอดี ถ้าจะถามว่าลงตัวพอดีอย่างไร ก็ลองหาดูอย่างที่ผมบอก จะเข้าใจว่าพอดีอย่างไร คำตอบมีแล้ว แต่คุณยังหาไม่ละเอียดดีพอเท่านั้นเองครับ


ทำไมไม่แบ่งเป็นเกณฑ์ 12 หรือ 24
จะได้เป็น 24 ชม.ลงตัวเป๊ะ

เพราะคนที่ท่านคิตำราให้เราใช้ ท่านไม่ได้ใช้เกณฑ์ 12 หรือ 24 ในการหา และถ้าใช้เกณฑ์ 12 หรือ 24 คุณจะจัดโครงสร้างยังไงครับ ที่จะใช้เกณฑ์ 12 24 ที่คุณเสนอมาคำนวณนับให้ได้จังหวะของยามกลางวัน และกลางคืนพอดี ถ้าคุณมีความคิดอะไรดี น่าจะบอกกันบ้าง(ตื่นเต้น ๆ) แต่ผมว่ามันจะมีเลขที่ซ้ำกันไม่น้อยกว่า 2 -4 ชุด น่าจะสับสนนะผมว่า ที่มันจะลงตัวเป๊ะ มันจะไม่ลงตัว

และสมัยก่อนท่านไม่มีนาฬิกาท่านกะเอาว่า วันนึงแบ่งเป็น 2 ส่วน เช้าถึงเที่ยง เที่ยงถึงพลบค่ำ คืนอีกสองส่วน พลบค่ำถึงเที่ยงคืน เที่ยงคืนถึงเช้า และเช้าถึงเที่ยง ผมว่าสำหรับคนที่ไม่มีนาฬิกาแบ่งเป็น 4 ช่วงน่าจะกำลังเหมาะในการกำหนด ถ้าแบ่งเป็น 6 น่าจะละเอียดไปนะครับ แต่เมื่อมามีนาฬิกาจะให้นับละเอียดถึงวินาทีก็ได้ จึงเป็นวิชาที่คนเมื่อหลายศรรตวรรตก่อน แต่คนศรรตวรรตนี้ยังใช้อยู่ ก็อาจจะมีบ้างที่จะลืมไปว่าคนที่คิดขึ้นมาเป็นคน ๆ ละสมัยกับเรา ครับผม

แล้วทำไมต้องกลางวัน 4 กลางคืน 5

ลองขึ้นไปพิจจารณาดูที่ผมโพสไว้ดีครับ คำตอบมีอยู่แล้ว และเกณฑ์ 9 นี้ใช้กำหนดลำดับยาม ตามจังหวะที่หาได้จาก เลข 7 ตัว และก็เกณฑ์ 9 กลางวัน 4 กลางคืน 5ย้อนกลับนี้หายามกลางวันกลางคืนจากเลข 7 ตัวได้ด้วย และยามนั้นจะเวียนเป็นทักษิณาวัตรเหมือนการนับด้วยนวภัทรบท แต่ผมไม่ได้แสดงวิธีไว้ ทุกอย่างที่ท่านคิดไว้สัมพันธ์และลงตัวกันอย่างไร้ที่ติอยู่แล้วครับ ผู้ที่รู้และเข้าใจในที่มาที่ไปจึงไม่คิดเปลี่ยนแปลงหรือแหวกแนว ครับ

ถ้าคุณถามว่าอยากทานอะไรหวาน ๆ ผมก็คงตอบว่าทานน้ำตาลซิครับ และถ้าคุณถามว่าทำไมต้องทานน้ำตาล ผมก็จะตอบว่าเพราะน้ำตาลมันหวานครับ และถ้าคุณถามต่อไปว่าแล้วทำไมน้ำตาลถึงหวาน ครับผมก็อยากทราบเหมือนกันว่าทำไมน้ำตาลต้องหวานด้วยผมก็ว่ามันหวานเหมือนกันกับคุณเหมือนกัน เขียนเองชักงงเอง บอกว่าอย่าขอหมอลำ ๆ
ไม่รู้หมอลำเขาลำจังได๋ ฟังแล้วพ้มกะฟังบ่เข้าใจ๋ มันเป็นจังได๋กันหนอหมอลำ ฮิ้ว ...
เป็นวิธีคิดที่สืบหันมาแต่โบราณ วันนึงแบ่ง 2 ภาค ภาคนึง 2 ส่วน ส่วนนึงมี 4 ส่วนย่อย 4 ส่วนย่อยรวมกัน 4 * 4 16 ส่วน 16ยาม มันมีหลักและวิธีที่ถูกต้องอยู่และมีคนที่ทราบแต่ขี้เกียจบอกปล่อยให้ พวกไม่รู้แต่ชอบพูดพูดไป แต่จนตายก็ไม่รู้ก็แค่นั้น



ผู้ตั้งกระทู้ อ่ะนะ :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


1

ความคิดเห็นที่ 5 (1035008)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 18:46:32 IP : 203.146.127.176


ความคิดเห็นที่ 4 (1034218)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 15:11:33 IP : 203.146.127.178


ความคิดเห็นที่ 3 (1032908)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 11:59:15 IP : 203.146.127.178


ความคิดเห็นที่ 2 (442220)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2006-04-11 01:40:42 IP : 203.114.97.169


ความคิดเห็นที่ 1 (441900)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2006-04-11 01:14:12 IP : 203.114.97.169



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.