ReadyPlanet.com


มีใครพอจะอธิบายความหมายของโคลงบทนี้ได้บ้างครับ


คือว่าผมไปเจอโคลงบทนี้ มาจากเวสสันดรตอนพระเจ้ากรุงสญชัยจะเสด็จออกไปรับพระเวสสันดร  เขียนไว้ว่า

 

๏ กระษัตรทั้งสี่ขึ้น                 คชา

กับพระบรมวงษา                         เสร็จแล้ว

มหุรติฤกษเวลา                             โมฆปริ     สุทธิฤๅ

เริงรื่นฤๅทยแผ้ว                            สั่งให้เดินขบวร

 

ใครพอจะอธิบายความหมายได้บ้างครับ อ่านแล้วไม่เข้าใจ



ผู้ตั้งกระทู้ เป็นแค่โหนไม่ใช่โหร :: วันที่ลงประกาศ 2005-10-14 15:55:08 IP :


1

ความคิดเห็นที่ 7 (1454993)

ไ ม่ รู้ เรื่ อ ง เ ล ย แ ต่ น่ า อ่ า น ดี

ผู้แสดงความคิดเห็น Oba วันที่ตอบ 2008-05-19 20:33:19 IP : 118.174.110.201


ความคิดเห็นที่ 6 (1035498)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 19:39:07 IP : 203.146.127.176


ความคิดเห็นที่ 5 (1033991)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 15:02:27 IP : 203.146.127.178


ความคิดเห็นที่ 4 (1033200)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-04 12:00:31 IP : 203.146.127.178


ความคิดเห็นที่ 3 (441986)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2006-04-11 01:31:42 IP : 203.114.97.169


ความคิดเห็นที่ 2 (441666)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2006-04-11 01:05:20 IP : 203.114.97.169


ความคิดเห็นที่ 1 (259300)

คำไหนครับ แต่ถ้าหากเป็นคำว่า "มหุรติ" แล้ว คำนี้มีความหมายในทางโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นการว่าด้วฤกษ์ยาม มาจากคำว่า "มุหูรตะ" ซึ่งมีปรากฏในโหราศาสตร์พระเวท ซึ่งสมัยโบราณเรารับวัฒนธรรมโหราศาสตร์พระเวทมาใช้ในชนชั้นสูงกัน ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้ศึกษากัน

มุหูรตะ แปลตามความหมายว่า การเลือกที่เหมาะสมตามกาล หรือ การกำหนดเวลาอันเป็นศุภมงคล หรือ อีกนัยหนึ่งว่าระยะเวลา 1 ภาคใน 30 ภาคของวัน หรือ1 ยามนาสิ(ประมาณเท่ากับ 48 นาทีของเวลาสากล)

มาตราวัดเวลา ของชาวฮินดู เดิมมีดังนี้

15 นิเมษ(พริบตา) = 1 กาษฐา

30 กาษฐา = 1 กะลา

30 กะลา = 1 มหูรตะ

30 มหูรตะ = 1 วันกับคืน

แต่ถ้าเป็นคำอื่นก็ให้ท่านผู้รู้มาช่วยอธิบายให้นะครับ หรือ ถ้าจะให้แปลตามความเข้าใจของข้าพเจ้า(ซึ่งไม่แน่ใจในคำว่า โมฆปริ เท่าใดนัก) จะแปลดังนี้ครับ

๏ กระษัตรทั้งสี่ขึ้น                 คชา

กับพระบรมวงษา                         เสร็จแล้ว

มหุรติฤกษเวลา                             โมฆปริ     สุทธิฤๅ

เริงรื่นฤๅทยแผ้ว                            สั่งให้เดินขบวร

เมื่อเหล่ากษัตริย์ทั้ง 4 พระองค์(ที่สำคัญ)ขึ้นทรงช้างพระราชพาหนะ พร้อมกับ เหล่าพระบรมวงษาแล้ว

เมื่อถึงฤกษ์เวลาอันเป็นศุภมงคลอันเลือกแล้ว ซึ่งเวลานั้นว่างเปล่าจากอุปสรรค(โมฆปริ)ทั้งปวง อันเป็นช่วงเวลาที่สะอาดหมดจดแท้ ต่างมีความสุขกันถ้วนทั่วในกาลนั้น แล้วจึงสั่งให้เดินออกไปแบบที่ได้ตกแต่งเป็นระเบียบอย่างสวยงาม

โมฆ = ว่าง , เปล่า (ความหมายอย่างเป็นกลาง) หรือ ใช้ไม่ได้ , ไม่มีประโยชน์ (ความหมายในแง่ลบ)

ปริ = อุปสรรค , รอบ

สุทธิ = หมดจด , สะอาด , แท้

ขบวร หรือ ขบูร = ตกแต่ง , ประดับ

ถ้าผิดพลาดประการใด ในการแปลครั้งนี้ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาบอดส่องตะเกียง วันที่ตอบ 2005-10-16 06:08:47 IP :



1


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.