ReadyPlanet.com
dot
dot
นิตยสาร " โหราเวสม์ "
dot
bulletนิตยสาร "โหราเวสม์" ๔๘-๕๗
bullet:: ผูกดวง วางลัคนา หาสัมผุสดาว (ตามหลักคัมภีร์สุริยยาตร์) ::
bullet:: ผูกดวง วางลัคนา หาสัมผุสดาวตามปฏิทินดาราศาสตร์ (ลาหิรี) ::
bulletดูดวง ตามปี นักษัตร โหรหลวง
dot
เวป เพื่อนบ้าน
dot
bullethora-thai.com
bullethorasad.com
bullethorasad7.com
bullettiantek.com
bullettiantekpro.com
bullethenghengheng.com
bullet10luckastro.com
bulletตรวจล็อตเตอรี่
bulletค้นหาเบอร์โทรศัพท์
bulletค้นหาคำศัพท์
bulletค้นหารหัสไปรษณีย์
bulletOnline-Image-Converter
bulletAffiriate Area
bulletนำเข้าสินค้าจากจีน
bulletTaobao
bulletเฟอร์นิเจอร์
bulletกระบอกน้ำ
bulletของพรีเมี่ยม
bulletร่ม
dot
ข่าวสาร
dot
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
เวปเพื่อนบ้าน แลกลิ้ง โฆษณา
dot
bulletเวปเพื่อนบ้าน
bulletแลกลิ้งที่นี่ LINK EXCHANGE
bulletโฆษณา คลิกที่นี่
dot
อาจารย์ เทียนเต็ก
dot
bulletดูดวงจีนฟรี กับ อ.เทียนเต็ก
bulletspeedtest.adsl
bulletYOUTUBE เวิ้งนครเขษม บ้านเรา


รับตั้งศาลต่าง ๆ

าจารย์โชคชัย เงินดี
รับตั้งศาลพระภูมิ เจ้าที่
พระพรหม และ
ถอนศาลต่างๆ
โทร:081-880-6143

 

พิธีพุทธาภิเษกวัจถุมงคลพระพิฆเณศมหามงคล รุ่น 1 วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2555
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

โปรแกรมผูกดวงจีน
อาจารย์เทียนเต็ก

โปรแกรม
ตรวจสอบโชคลาภความร่ำรวย
ราคา 300 บาท

โปรแกรมดูดวงจีน 2 ภาษา
windows mobile

โปรแกรมดวงจีน
"รู้หนึ่ง-รู้หมด"
ดูดวง,หาฤกษ์ด้วยตนเอง

โปรแกรม Tian-Tek Pro Version 1
ราคา 1,000 บาท

VCDและDVD เรียนดวงจีน
ชุดที่ 1-2-3

0

Download ฟรี.
ตลับเมตรไฮเทค (ดีที่สุดในโลก)วัดได้ยาวไกลที่สุด

วัตุถุมงคล
เสริมดวง แก้ชง
สะเดาะเคาะห์ ต่อชะตา

ดวงจีนและฮวงจุ้ย
ที่เป็นวิทยาศาสตร์

อาจารย์อ๊อดวัดสายไหม
เจ้าตำรับตระกรุดลูกปืน
(1ส.ค.2550)

หลวงหนุ่ย
ที่สุดแห่งเจ้าพิธีเทวาภิเษก
จตุคามราเทพ 27 มิ.ย.2550

ที่เขาว่ารวยเพราะปี่เซียะหรือเป็นที่ฮวงจุ้ยกันแน่

ประวัติปี่เซียะ 貔貅

ตำแหน่งขุมทรัพย์
มหาเศรษฐี

ฮวงจุ้ย คู่สมพงศ์
ชง - ฮะ

ฮวงจุ้ยคนตาย

การตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ดวงปี 51ดวงฮวงจุ้ยให้โทษ
นี่เป็นลิขิตฟ้า-ยากจะฝืน

คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี
ไปสู่สถานที่ดี

เปิดกรุจตุคามรามเทพ
รุ่นที่ คุณสนธิไม่มี

เหรียญมงคล แก้ชง เสริมดวง
สะเดาะเคาะห์ต่อชะตา
ที่ร้านเซเว่นทุกสาขา

สถานีโทรทัศน์สีช่อง 7. สี(กระจก 6 ด้าน) มาทำข่าวเกี่ยวกับ ปี่เซียะ"貔貅

svautoshop  xenon

 

อาจารย์ รสสุคนธ์
รับสอนโหราศาสตร์ไทย
ตามทฤษฎี นวางศ์จักร
(อ.บุศรินทร์ ปัทมาคม)

หลักสูตร 2 เดือน 40 ชม.
เน้นการพยากรณ์เป็นหลัก
เพื่อดูดวงได้จริง
รับงานพยากรณ์
งานอีเว้นท์ นอกสถานที่
ติดต่อ
086-3582656
ossukon7155@gmail.com
ดูดวงผ่าน
1900 111 080
หรือ App Horaworld
รหัส 153

รับพยากรณ์ดวงจีน

อ.มังกร (แซ่จึง)
มณีเกียรติไพบูลย์
พยากรณ์ดวงชะตาจีน
(ซี้เถียวโป๊ยยี่)
ฤกษ์จีน แต่งงาน
ออกรถ
ขึ้นบ้านใหม่
มือถือ
081-459-9550
บ้าน
02-870-2450



ษัฑพละ article

ษัฑพละ : กำลังของดาว

ในโหราศาตร์แบบอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคคอมพิวเตอร์นี้ มีวิธีหาตำแหน่งดาวและเรือนได้อย่างรวดเร็วทันใจ มากมาย หนึ่งในนั้นที่จะกล่าวถึงคือ ษัฑพละ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ค่ากำลังของดาวแต่ละดวง ยิ่งดาวไหนได้กำลังมาก ดาวนั้นก็จะยิ่งมีพลังมาก
สิ่งที่สำคัญในการหาค่ากำลังดาวแบบษัฑพละ คือคุณต้องรู้ระบบวิธีการคำนวณเสียก่อน

วิธีการคำนวณษัฑพละนี้มีหลายรูปแบบแต่ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะใช้ตามแบบ B.V. Raman ได้อธิบายไว้ใน book ‘graha and bhava balas’ (กำลังของภวะและดาวเคราะห์)

 

1. สถานะพละ (STHANA BALA)
เราจะเริ่มจากการคำนวณหาษัฑพละของดาวดวงหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแน่งความเข้มแข็งของดาวดวงนั้นๆ ษัฑพละจะประกอบด้วยส่วนประกอบ ห้าส่วนดังนี้ :
1. ส่วนที่หนึ่งเรียกว่า อุชะพละ (Ocha Bala) การให้หน่วยกำลังจะพิจารณาจากองศาของดาว
o เมื่อเริ่มบทเรียน โหราศาสตร์แห่งพระเวท (Vedic Astrology) เราทราบกันดีแล้วว่าดาวแต่ละดวงจะมีจุดปรมอุจน์ ที่องศาที่ 3 ราศีพฤษภ เมื่อดาวดวงนั้นได้ตำแหน่งที่องศาพอดี ดาวดวงนั้นจะได้กำลัง 60 ษัทฎิอัมศะ (Shashtiamsas)
o แต่ถ้าดาวดวงนั้นครองตำแหน่งตรงกันข้ามกับที่กำหนดไว้ ดาวดวงนั้นจะไม่มีหน่วยกำลังเลย
o และแน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วดวงดาวอาจจะครองตำแหน่งคาบเกี่ยวในระหว่างจุดต่างๆเหล่านี้ ในกรณีที่คาบเกี่ยวนี้เราจะคำนวณกำลังตามตำแหน่งที่กำหนดและตำแหน่งที่ดวงดาวครองอยู่ เรียกว่าจุดปรมอุจน์ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ที่ 3 องศาในราศีพิจิก จะได้รับ 0 ษัทฎิอัมศะ ดวงจันทร์ที่ 3 องศาในราศีสิงห์จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ นี่คือตำแหน่งกึ่งกลางระหว่าง 3 องศาราศีพิจิกและ3 องศาราศีพฤกษภพอดิบพอดี).
2. ส่วนที่สองเรียกว่า สัปตวรรคพละ (Saptavargaja Bala) การคำนวณหากำลังส่วนนี้เราต้องพิจารณาจากความสมดุลของความสัมพันธ์เจ็ดอย่างคือ
ราศี (Rasi)
โหรา (Hora)
ทเรกกณะ (Drekkana) - [ตรียางค์]
สัปตางศะ (Saptamsa)
นวางค์ (Navamsa)
ทวาทศางศะ (Dwadasamsa)
ตริมฺศางศะ (Trimsamsa)
หมายเหตุ - ในผังเหล่านี้เราจะต้องพิจารณาว่าดาวนั้นๆอยู่ในสัญลักษณ์อะไร
o ถ้าดาวนั้นในอยู่ในราศีที่เป็นมูลตรีโกณของตัวเองจะได้ 45 ษัทฎิอัมศะ (นี่เป็นกฎพิเศษสำหรับการเทียบราศีเท่านั้น)
o ถ้าดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง (ไม่ว่าวรรคไหน) ก็ได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
o ถ้าดาวนั้นอยู่ในราศีคู่มิตรใหญ่จะได้รับ 22.5 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีคู่มิตรจะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีที่เป็นกลางจะได้รับ 7.5 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีคู่ศัตรูจะได้รับ 3.75 ษัทฎิอัมศะ
o หากอยู่ในราศีอภิศัตรู/คู่ศัตรูใหญ่จะได้รับ 1.875 ษัทฎิอัมศะ
การพิจารณาในส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ ษัฑพละ เพราะ สัปตวรรคพละเป็นส่วนที่จะให้ค่าหน่วยกำลังได้มากที่สุด
3. อุชะยุคมะพละ (Ojayyugma Bala) การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้ต้องคำนึงถึงตำแหน่งว่าอยู่ในนวางค์และ ราศี ว่าเป็นคู่หรือคี่
o พระจันทร์และดาวศุกร์จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ เมื่อเสวยนวางค์คู่ หรือ อยู่ในราศีคู่
o หากดาวทั้งสองอยู่ทั้งราศีคู่และนวางค์คู่ จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
เหตุผลในการให้คะแนนพิเศษนี้เพราะดาวทั้งสองเป็นเพศหญิง ย่อมแข็งแกร่งเมือได้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นหญิง (คู่) ไม่ว่าจะในราศีหรือนวางค์
o พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร, ดาวพุธ ,ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ เมื่อเสวยนวางค์คี่ หรือ อยู่ในราศีคี่
o หากดาวเหล่านี้อยู่ทั้งราศีคี่และเสวยนวางค์คี่ จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
ดาวเหล่านี้เป็นมีทั้งที่เป็นเพศชายและเป็นกลาง ซึ่งจะเข้มแข็งในราศีคี่
4. เกณฑ์ พละ(Kendra Bala) การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้พิจารณาจาก เรือนเกณฑ์ [Kendra House] หรือนับจากเรือนจากลัคนาเกิด
o ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 1,4,7 และ 10 จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 2,5,8 หรือ 11 จะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
o ดาวใดๆก็ตามที่อยู่ในเกณฑ์ 3,6,9 หรือ 12 จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
เหตุผลในการให้คะแนนคือดาวเหล่านี้อยู่ในเรือนเกณฑ์ ซึ่งสามารถแสดงกำลังได้สะดวก
5. ทเรกกณะ (Drekkena Bala) การให้หน่วยกำลังในส่วนนี้พิจารณาจากเพศของดาว
ดาวเพศชายคือ พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร และดาวพฤหัส
ดาวเพศกลางคือ ดาวพุธ และดาวเสาร์
ดาวเพศหญิงคือ พระจันทร์และดาวศุกร์

o ถ้าดาวเพศชายอยู่ใน ปฐมตรียางค์ (0-10 องศาของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
o ถ้าดาวเพศกลางอยู่ใน ทุติยะตรียางค์ (10-20องศา ของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
o ถ้าดาวเพศหญิงอยู่ใน ตติยะตรียางค์ (20-30องศา ของราศีใดๆก็ตาม) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
เหตุผลในการให้คะแนนคือ ปฐมตรียางค์ ของแต่ละราศีเป็นองศาที่ให้คุณกับดาวเพศชาย ทุติยะตรียางค์ ให้คุณกับดาวเพศกลาง ส่วน ตติยะตรียางค์ ให้คุณกับดาวเพศหญิง


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ทีคะพละ – ทิศ (DIG BALA)
หลักสำคัญในการนับคะแนนนี้ใกล้เคียงกับ โอชะพละ เพียงแต่หลักการพิจารณาไม่ได้ใช้ตำแหน่งของดาวในราศีต่างๆแต่ใช้เรือนเป็นเกณฑ์พิจารณาแทน
ดาวแต่ละดวงจะมีกำลังเมื่ออยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง ทีคะพละ หมายถึงกำลังโดยตรง
o พระอาทิตย์และดาวอังคารจะมีพลังมากในทิศใต้ อังคารเป็นอุจน์อยู่ราศีมังกรหรือทิศใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรือนที่สิบ (เรือนที่สิบเป็นส่วนใต้สุดของท้องฟ้า)
o ดาวเสาร์จะให้คุณจะได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศตะวันตกหรือเรือนที่เจ็ด เป็นอุจน์อยู่ตุลย์ตะวันตก
o พระจันทร์และดาวศุกร์จะได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศเหนือ (เรือนที่สี่)
o ดาวพุธและดาวพฤหัสได้รับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในทิศตะวันออกหรือเรือนที่หนึ่งนั่นเอง
เหตุผลในการให้คะแนนคือ
- เวลาเช้าเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ดังนั้นดาวพุธและดาวพฤหัสซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จึงให้คุณแข็งแรงดีในช่วงเวลานี้ (ในเวลาที่พระอาทิตย์ใกล้กับลัคนา ascendant).
- พระอาทิตย์และดาวอังคาร เป็นดาวที่กระตือรือร้น ซึ่งต้องการกำลังเมื่อยามเที่ยงๆบ่ายๆ (ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เดินทางมาถึงประมาณเรือนที่สิบ)
- ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความมืดมิด เงามืด จึงมีแรงในช่วงเย็นย่ำค่ำ (ในเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ตรงข้ามกับลัคนา)
- พระจันทร์และดาวศุกร์ เป็นดาวอ่อนหวานซึ่งมีกำลังดีในช่วงนอนหลับ (ในเวลาเที่ยงคืนพระอาทิตย์จะอยู่ในเรือนที่สี่)
ดาวใดๆจะรับ ทีคะพละ สูงสุดเมื่ออยู่ในกึ่งกลางของภวะ-เรือน (bhava) ซึ่งจะให้คุณมากเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น พระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สี่ จะได้รับ ทีคะ พละ สูงสุดและได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ ถ้าพระจันทร์สถิตอยู่ในตำแหน่งกลางเรือนของเรือนที่สิบ ได้รับ 0 ษัทฎิอัมศะ
ความซับซ้อนเล็กน้อยคือการพิจารณาในงานของ BV Raman ในเรื่องภวะ (ภวะคือเรือน) ที่ไม่ใช่ราศีจักร จุดกึ่งกลางของแต่ละเรือนใน ภวะจักร (bhava chart) อาจแตกต่างจากจุดกึ่งกลางของเรือนในราศีจักร(ซึ่งนับที่ 15 องศาเสมอ)
- ใน ภวะจักร แต่ละเรือนจะมีช่วงองศาไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถเทียบได้กับเรือนชาตาในแบบโหราศาสตร์ตะวันตก
- ทีคะพละ จะชี้กำลังความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงได้ดีเมื่อดาวนั้นๆอยู่ในเรือนของตัวเอง


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

3. กาละพละ (KALA BALA)
วิธีนี้จะวัดความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงจากช่วงระหว่างวัน กำลังในแต่ละเวลา โดยจะพิจารณาให้หน่วยกำลังตามเงื่อนไขต่อไปนี้
1. ทิวาราตรีพละ (Divaratri Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากเวลากลางวันกลางคืน
2. ปักษพละ (Paksha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากช่วงหนึ่งปักษ์ เท่ากับ 15 วันตามจันทรคติ (lunar days)
3. ไตรภาคพละ (Thribhaga Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากการแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยช่วงเวลากลางวัน (หมายถึงช่วงที่อาทิตย์อุทัยถึงอาทิตย์ลับฟ้า)
4. สัปดาห์พละ (Abda Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวประจำปี (lord of the year)
5. มาศพละ (Masa Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด
6. วารพละ (Vara Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันที่เจ้าชะตากำเนิด
7. โหราพละ (Hora Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามหน่วย โหรา
8. อะยะนะพละ (Ayana Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร
9. ยุทธพละ (Yuddha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะพบหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันในราศีจักร
1.ทิวาราตรีพละ (Divaratri Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากเวลากลางวันกลางคืน

- พระจันทร์ ดาวเสาร์และ ดาวอังคาร ซึ่งมีกำลังมากในเวลาเที่ยงคืน แต่จะอ่อนพลังจนหมดในเวลาเที่ยงวัน ดาวเหล่านี้เป็นดาวบาปเคราะห์ (หมายความว่าพระจันทร์ เสาร์ อังคารมีกำลังตอนกลางคืน เพราะกลางคืนมองเห็นพระจันทร์ กลางวันจะมองไม่เห็น อาทิตย์ก็เช่นกัน ดังนั้นคนที่เกิดกลางคืน ถึงพระอาทิตย์จะเด่นเป็นมหาอุจน์ก็ไม่ได้กำลังตามความหมายนี้)

- พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์ จะมีพลังระหว่างกลางวัน เที่ยง และหมดพลังในช่วงเที่ยงคืน ดาวเหล่านี้เป็นศุภเคราะห์

- ดาวพุธนักปรับตัวได้รับการพิจารณาว่ามีพลังตลอดวันตลอดคืน (ตามหลักดาราศาสตร์ดาวพุธจะอยู่ใกล้อาทิตย์มากที่สุดโดยระยะห่างและจะห่างกันไม่เกิน 3 ราศี แสดงว่าพุธได้รับการถ่ายทอดกำลังจากอาทิตย์ตลอดเวลา และทำให้มีกำลังทั้งกลางวันกลางคืน ดังนั้นจึงไม่มีเพศ) นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาโดยเกณฑ์นี้
o ดาวพุธจะได้คะแนนสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ
o พระจันทร์ ดาวเสาร์และดาวอังคารจะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงคืนและจะไม่ได้หน่วยกำลัง หากเกิดเวลาเที่ยงวัน
o พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์จะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงวันและไม่ได้รับหน่วยกำลังใดๆหากเกิดในเวลาเที่ยงคืน
o หากเจ้าชะตาเกิดในเวลาที่อยู่ระหว่างนั้น ค่าหน่วยกำลังก็จะเฉลี่ยๆไป (the value is interpolated)

2.ปักษพละ (Paksha Bala) ช่วงหนึ่งปักษ์ เท่ากับ 15 วันตามจันทรคติ (lunar days) เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างขึ้น (the Moon is increasing) จะเป็น ศุกรปักษ์ (Sukla Paksha) เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างแรม (the Moon is decreasing) จะเป็น กฤษณปักษ์ (Krishna Paksha)
o ดาวศุภเคราะห์ที่จะได้รับคุณคือ พฤหัส,ดาวศุกร์และดาวจันทร์ (นับจากวันขึ้นแปดค่ำ ถึงแรมแปดค่ำ รวมถึงดาวพุธด้วย ดาวเหล่านี้จะมีพลังเข้มแข็งในช่วง ศุกรปักษ์
o ดาวกลุ่มบาปเคราะห์คือ พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร ดาวเสาร์ รวมถึง ดาวพุธที่เสียและ ดาวจันทร์ จะเข้มแข็ง ในช่วง กฤษณปักษ์ แรมแปดค่ำ ถึงขึ้นแปดค่ำ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง ศุกรปักษ์ ดาวศุภเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวบาปเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง กฤษณปักษ์ ดาวบาปเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวศุภเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย
o หน่วยกำลังสูงสุดที่จะได้รับจากเกณฑ์นี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ
o พระจันทร์จะได้รับกำลังเป็นสองเท่าเสมอ
3. ไตรภาคพละ (Thribhaga Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากการแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยช่วงเวลากลางวัน (หมายถึงช่วงที่อาทิตย์อุทัยถึงอาทิตย์ลับฟ้า) สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเท่าๆกัน และช่วงเวลากลางคืน ก็สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเช่นกัน (เวลากลางคืนนี้นับเฉพาะ ช่วงพระอาทิตย์ลับฟ้าถึงพระอาทิตย์อุทัยเท่านั้นเช่นกัน)
o การให้หน่วยคะแนนในระบบนี้ ดาวพฤหัสจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ เสมอ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางวัน ดาวพุธจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางวัน พระอาทิตย์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางวัน ดาวเสาร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางคืน พระจันทร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางคืน ดาวศุกร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
o หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางคืน ดาวอังคารจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ

เราอาจสังเกตเห็นบางอย่างที่น่าสนใจในการให้หน่วยกำลัง ของษัฑพละ และนี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ข้อสังเกตในสิ่งเชื่อมโยงระหว่างการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ไตรภาคพละ นี้และการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ทีคะพละ

- ช่วงแรกของวันจะเป็นช่วงที่ให้ประโยชน์แก่ดาวพุธ
- เที่ยงวันให้คุณกับพระอาทิตย์
- ดาวเสาร์จะแข็งแรงสุดๆเมื่ออยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับลัคนา (จุดที่พระอาทิตย์ตก – ascendant: the place of the evening Sun)
- พระจันทร์และดาวศุกร์ก็แข็งแกร่งในเวลากลางคืน

อย่างไรก็ตาม ใน ทีคะพละ ไม่ได้ให้ค่าความแข็งแรงของ ดาวอังคารตามเกณฑ์ให้คุณนี้
4. สัปดาห์พละ (Abda Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าปี (lord of the year) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ
- ดาวเจ้าปี คือดาวที่เป็นเจ้าวันในวันแรกของปี ยกตัวอย่างเช่นวันแรกของปีเป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นๆจะปกครองโดยพระอาทิตย์ (พระอาทิตย์เป็นดาวประจำปี) กฎเกณฑ์นี้อาจข้ามยกเว้นไปได้เนื่องจากคัมภีร์โบราณให้คำนวณตั้งแต่วันสร้างโลกว่าเป็นวันอะไร จนถึงยุคสมมุติ ว่าเริ่มต้นจากวันอะไรโดยปัจจุบันนี้อยู่ในยุค กาลียุค โดยยุดนี้เริ่มต้นประมาณ 4000 ปีมาแล้ว วันเริ่มยุคถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นวันพุธ แล้วมาเฉลี่ยต่อปี ก็จะรู้ได้ว่าปีนี้เริ่มจากวันอะไรแล้วถือว่าวันนั้นมีกำลังสูงสุดในปีนั้น
5. มาศพละ (Masa Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิดจะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ
6. วารพละ (Vara Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวันจะได้รับ 45 ษัทฎิอัมศะ
7. โหราพละ (Hora Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามหน่วย โหรา ดาวที่เป็นเจ้าโหราของเจ้าชะตาจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
- ในหนึ่งวันจะแบ่งได้เป็น 24 ชั่วโมงหรือโหรา แต่ละ โหราจะปกครองโดยดาวแต่ละดวง โหราแรกจะปกครองโดยดาวที่ปกครองวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น วันจันทร์ โหราแรกจะปกครองโดยพระจันทร์ และตามด้วยดาวอื่นๆตามลำดับของสัปดาห์ (ตามตัวอย่างนี้จะตามด้วยดาวอังคาร ดาวพุธ ฯลฯ) หากเจ้าชะตาเกิดในที่ห่างไกลจากศูนย์สูตร ช่วงของโหราจะไม่เท่ากัน เพราะหน่วยเวลาโหราจะแบ่งเป็น 12 โหราในช่วงเวลากลางวัน และ 12 โหราในช่วงเวลากลางคืน
8. อะยะนะพละ (Ayana Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งหากจะอธิบายอย่างละเอียดจะยาวเกินไป การนับหน่วยกำลังในระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร
o ถ้าดาวเคราะห์ใดมีค่าเบี่ยง มุมเอียง เป็น 0 อะยะนะพละ ที่ได้รับเป็น 30 ษัทฎิอัมศะ
o สำหรับดาวศุกร์ พระอาทิตย์ อังคาร และ ดาวพฤหัส ในทิศเหนือ (Northern declinations) จะได้รับค่าเพิ่ม แต่หากอยู่ในทางใต้จะถูกลบออกไป ( ดาวเคราะห์ในกลุ่มนี้จะได้ อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ สูงหากอยู่ทางเหนือ)
o ดาวเสาร์และพระจันทร์ จะตรงข้ามกับกลุ่มดาวที่กล่าวมา คือจะได้รับ อะยะนะพละ สูงหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ทางเหนือ
o สำหรับดาวพุธมักจะได้รับหน่วยกำลังจากการโคจรเบี่ยงนี้เสมอ (ไม่มีการหักออก ไม่ว่าจะเบี่ยงเหนือ-ใต้)

- หน่วยคะแนนที่สูงสุดในการนับหน่วยคะแนนในระบบนี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ
- กฏพิเศษคือ อะยะนะพละ ที่ได้ของพระอาทิตย์จะได้รับการคูณสองเสมอ

9. ยุทธพละ (Yuddha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะพบหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันในราศีจักร

- สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือ คำนวนหาค่า สถานะพละ ทั้งหมดร่วมกับ ทีคะพละ,กาละพละ รวมถึง โหราพละ ของดาวทั้งสองดวงนั้น

- จากนั้นเราก็หาค่าหน่วยกำลังที่ต่างกันของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงได้

- ค่าหน่วยกำลังที่ต่างของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงนี้จะถูกแบ่งเป็นโดยค่าต่างของหน่วยวัดของดาวทั้งสองตามที่เห็นบนท้องฟ้า (difference between the diameters of the two planets as seen in the sky)

- ผลการคำนวณที่ได้คือ ยุทธพละ

- ค่าที่ได้นี้จะต้องนำไปรวมกับ ผลรวมของ กาละพละ ของดาวที่มีคะแนนมากกว่า (ผู้ชนะ) และนำค่าเท่ากันนี้ไปลบออกจากดาวผู้แพ้

- เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจเปรียบการให้หน่วยกำลังในระบบนี้เหมือนการให้คะแนนในการเล่นเกมก็ได้ ผู้ชนะจะได้รับคะแนนพิเศษเพิ่ม ในขณะที่ผู้แพ้ก็โดนหักคะแนน เมื่อคำนวณค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว เราจะนำค่าสรุปที่ได้นี้ไปบวกเพิ่มกับค่ารวมของกาละพละ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. เจษฏะพละ (CHESTA BALA)
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่ยากที่จะอธิบายความเป็นมาของการพิจารณาการให้ค่าหน่วยกำลังอย่างย่อๆ ดังนั้นเพื่อความสะดวก เราจะพูดแค่ว่า
o ดาวที่เคลื่อนตัวช้า (among them retrograde planets) จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละสูง
o ดาวที่เคลื่อนตัวเร็ว จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละ น้อย
- เหตุผลของการให้ค่าหน่วยกำลังนี้คือดาวที่เคลื่อนตัวช้าย่อมสามารถสะสมรวบรวมพลังงานได้มาก เพราะดาวจะไม่ค่อยเคลื่อนตัว
- หน่วยคะแนนสูงสุดที่จะได้รับคือ 60 ษัทฎิอัมศะ
- เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเคลื่อนตัวของดาวแต่ละดวงในที่นี้ จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของดาวนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ดาวเสาร์ซึ่งกำลังเคลื่อนตัวเร็ว(เสริด)จะได้ เจษฏะพละ ต่ำในขณะที่ ดาวพุธซึ่งกำลังเคลื่อนตัวช้า(มนท์) จะได้ เจษฏะพละ สูงกว่า
- พระอาทิตย์และพระจันทร์จะไม่ได้รับ เจษฏะพละ เลย เพราะดาวทั้งสองเคลื่อนตัวค่อนข้างเป็นแบบแผน และไม่มีการพักร์ เสริด มนท์

 

 

 

 

 

 

 

5. นิสรรคพละ (NAISARGIKA BALA)
การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตาม ค่าความสว่างเจิดจ้าที่แตกต่างกัน ซึ่งดาวแต่ละดวงจะมีค่าหน่วยกำลังที่แน่นอนตามดังนี้ พระอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างจะได้หน่วยกำลังเต็มที่ที่ 60 ษัทฎิอัมศะ ดาวเสาร์ซึ่งมืดหม่นที่สุดจะได้รับ 8.57 ษัทฎิอัมศะ
- หากพิจารณาด้วยหลัก นิสรรคพละ นี้ หน่วยกำลังของดาวแต่ละดวงได้รับ จะเท่าเดิมเสมอ

6. ทริกะพละ (DRIK BALA)(NAISARGIKA BALA)
ทริกะ พละ หมายถึงมุม/ทิศทาง aspect ที่แข็งแกร่ง หากดาวดวงมีดาวศุภเคราะห์ใด มีเกณฑ์ที่ดีให้คุณส่งถึง ดาวนั้นๆก็จะได้รับหน่วยกำลังที่ดี แต่หากดาวใดมีสัมพันธ์เชิงมุม โยค เกณฑ์ที่ไม่ดีกับดาวบาปเคราะห์ ดาวนั้นๆก็จะได้รับ ทริกะพละ ที่ไม่ดี
การคำนวนหาค่า ทริกะพละ ค่อนข้างยุ่งยากเพราะเราต้องแบ่งคำนวนบางส่วนตามมุมสัมพันธ์
ยกตัวอย่างเช่น เรารู้กันว่าพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวศุกร์ และ ดาวพุธ
- มุมเล็งเรือนที่เจ็ดจากดาวนั้นๆ หรือเรียกได้ว่าทำมุม 180 องศา ดาวนั้นๆจะได้รับพลัง 100%
- ตรีโกณ (มุม 120 องศา) จะให้พลัง 50%
- จตุโกณ (มุม 90 องศา) จะให้พลัง 75% %
- โยค (มุม 60 องศา) จะให้พลัง 25% %
- มุม 30องศา หรือ 150องศา จะไม่ส่งผลใดๆ
สิ่งสำคัญที่สุดคือดาวบางดวงที่โดนเบียนโดยได้รับ ทริกะพละ ที่ไม่ดีส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจากดาวบาปเคราะห์ ส่วนดาวที่ได้รับ ทริกะพละ ที่ดีส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจากดาวศุภเคราะห์

 

 

 

 

 

 

 

7. ผลรวมของค่า ษัทพละ
- เมื่อเรารวบรวมหน่วยคะแนนทั้งสิ้นได้แล้ว เราก็จะได้ค่าษัทพละ เป็นหน่วย ษัทฎิอัมศะ
- จากนั้นนำมาหารด้วย 60เราก็จะได้ค้าษัทพละเป็นหน่วย รูปะ
- ในใบประเมินผลจะใช้ค่าษัทพละเป็นหน่วยรูปะ
ข้อสังเกตที่สำคัญที่สุดในการนับหน่วยษัทฎิอัมศะ คือเรื่ององค์ประกอบของค่าษัทพละบางค่าอาจสำคัญกว่าค่าอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ษัทฎิอัมศะ ที่ได้จาก การคำนวณโดย สถานะพละ จะให้ค่าได้มากกว่าระบบทีคะพละ ดังนั้นต้องเข้าใจว่าค่าหน่วยกำลังของทั้ง ๖ องค์ประกอบที่กล่าวมา ไม่ได้สำคัญเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ตามกฎษัทพละ ดาวทุกดวงต้องมีค่าษัทพละอย่างต่ำที่ค่าหนึ่งๆ (มีค่าไม่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดเรียกว่า สาระคิกะพละ )จึงจะนับได้ว่าดาวนั้นๆมีพลังพอ เหตุผลในการกำหนดค่ารูปะนี้ ไม่มีอธิบายไว้
- ดาวพุธ 7 รูปะ
- ดาวพฤหัส 6 รูปะ
- พระจันทร์ 6 รูปะ
- ดาวศุกร์ 5 รูปะ
- ดาวเสาร์ 5 รูปะ
- พระอาทิตย์ 5 รูปะ
- อังคาร 5 รูปะ
เมื่อเราแบ่งค่าษัทพละที่ได้ตามข้อกำหนดขั้นต่ำของดาวแต่ละดวงแล้ว เราจะได้***ส่วนของษัทพละ(Shad Bala ratio) ***ส่วนของษัทพละนี้ จะแสดงให้เราเห็นว่าดาวแต่ละดวงมีค่าษัทพละมากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้เท่าไหร่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8. ตัวอย่าง : BILL CLINTON
เมื่อเราพิจารณาใบประมวลผลค่าษัทพละของ Bill Clinton (ตารางจะแสดงค่าตาม Nakshatras- chart is shown in the section about the Nakshatras)

+--------------------------------- Shad Bala ----------------------------------+
FULL SHADBALA PRINTOUT IS GIVEN IN THE COURSE MATERIAL
SUN MOON MERC VENUS MARS JUP. SATURN
Total Shad Bala : 8.66 6.17 7.47 5.62 6.51 6.53 3.25
Shad Bala Ratios : 1.73 1.03 1.07 1.02 1.30 1.00 0.65
- ดาวที่เข้มแข็งที่สุดตามค่าษัทพละคือพระอาทิตย์ ซึ่งค่าษัทพละรวมได้ 8.66 รูปะ (ค่าขั้นต่ำของอาทิตย์คือ 5) ซึ่งไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะพบได้ในดวงคนใหญ่โตที่ได้ตำแหน่งเป็นถึงประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
- ดาวพุธ ตามใบประเมินผลนี้ก็ค่อนข้างแข็งแกร่ง และในความเป็นจริง บิล คลินตันก็มีความสามารถและใช้คำพูดแก้ปัญหาและนำเขาผ่านอุปสรรคมาได้บ่อยครั้ง
- เมื่อพิจารณาในกลุ่มดาวที่ได้ค่าษัทพละต่ำ จะมี ดาวศุกร์ และโดยเฉพาะ ดาวเสาร์ ซึ่งอย่างที่เราทราบกัน ปัญหาใหญ่ของ บิล คลินตัน มักเกี่ยวพันกับเรื่องทางเพศ กามารมณ์ และการเงิน (ดาวศุกร์) ซึ่งมักมีแนวโน้มมาจากการที่ บิล คลินตันไม่สามารถกำหนดตัวเองได้ (ดาวเสาร์) ใหญ่ของบน

9. อัษฏะและกัษฏะพละ (ISHTA PHALA AND KASHTA PHALA)
จากใบประเมินผล เราจะเห็นองค์ประกอบอื่นๆซึ่งก็เป็นการดีที่เราจะรู้ความหมายนั้นไว้บ้าง
อัษฏะพละ Ishta Phala
การคำนวนหาค่า อัษฏะพละ ของดาวแต่ละดวงจะคำนวนโดย : นำค่า อุชะพละ คูณ เจษฏะพละ จากนั้นก็นำค่าที่ได้มาถอดสแควร์รูท ผลที่ได้จะเป็นค่าที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 60
เนื่องจากพระอาทิตย์และพระจันทร์จะไม่มีค่า เจษฏะพละ ดังนั้นเราก็ไม่สามารถคำนวณหาค่า อัษฏะพละ ด้วยวิธีนี้ได้ จึงต้องคำนวนหาค่า เจษฏะพละ ก่อนดังนี้ :

การหาค่า เจษฏะพละ ของพระอาทิตย์
i. นำค่าเส้นรุ้ง (longitude) ของพระอาทิตย์ มาบวกค่า 90 องศา
ii. ถ้าผลที่ได้มากกว่า 180 องศา ใช้ 360 ตั้ง จากนั้นนำค่านั้นไปลบ
การหาค่า เจษฏะพละ ของพระจันทร์
i. นำค่าเส้นรุ้ง (longitude) ของพระจันทร์เป็นตัวตั้ง แล้วลบออกด้วยค่าเส้นรุ้ง (longitude) ของพระอาทิตย์
ii. ถ้าผลที่ได้มากกว่า 180 องศา ใช้ 360 ตั้ง จากนั้นนำค่านั้นไปลบ
iii. ผลที่ได้คือได้ค่า เจษฏะพละ ของพระจันทร์
iv. (ค่า เจษฏะพละ นี้ใช้เฉพาะนำมาหา อัษฏะพละ เท่านั้น)
v. หากต้องการค่า เจษฏะพละ เป็นษัทฎิอัมศะ ต้องนำผลที่ได้นี้หารด้วยสามอีกที

กัษฏะพละ Kashta Phala
การคำนวนหาค่า กัษฏะพละ คำนวนหาโดย : นำค่า 60 ลบด้วค่า อุชะพละ บวกด้วย 60 ลบด้วค่า เจษฏะพละ จากนั้นก็นำผลรวมที่ได้มาถอดสแควร์รูท ผลที่ได้จะเป็นค่า กัษฏะพละ

แนวคิดคือ
ถ้าดาวใดมีค่า อัษฏะพละ (ผลดี)มากกว่า กัษฏะพละ (ผลร้าย)ก็จะเป็นการให้คุณในเชิง ทศา dasa และ ทศาแทรก bhukti (เมื่อดาวนั้นเสวยอายุและแทรกตามระบบวิมโษตรีทักษา)
ถ้าดาวใดมีค่า กัษฏะพละ มากกว่า อัษฏะพละ ก็จะเป็นการให้โทษในเชิง ทศา และ ทศาแทรก
อย่างไรก็ตาม ระบบการคำนวณษัทพละยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกมากให้ต้องพิจารณา นอกเหนือไปจากเรื่องตำแหน่งของดาว เราจึงควรพิจารณาองค์ประกอบในเชิงทศาและทศาแทรก จากค่ารวมษัทพละประกอบกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10. ภวะพละ RESIDENTIAL STRENGTH
นี่เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่เราจะนำมาพิจารณาในการหาค่าษัทพละ ในระบบนี้ เราต้องพิจารณาค่าจาก ภวะจักร (Bhava Chakra - เรือน) ซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้จะกล่าวในบทอื่นๆ
การแบ่ง ภวะ เป็นตารางจะเป็นตารางที่ไม่เท่ากันแน่นอน หากจะเทียบกับระบบแบ่งเรือนตาม Porphyry.
หลักในการแบ่งภวะนี้คือ
- หากดาวใดๆโคจรเข้าใกล้จุดกึ่งกลางของ ภวะใดภวะหนึ่ง ดาวดวงนั้นจะได้รับพลังจากภวะนั้นๆได้อย่างเต็มที่
- แต่ถ้าดาวนั้นๆอยู่ชิดขอบริมของ ภวะ ก็จะทำให้ได้รับพลังน้อยลง หรือไม่สะดวก
- ดาวที่ได้รับพลังจากภวะมากก็จะแข็งแกร่งมาก ในขณะที่ดาวได้รับพลังจากภวะน้อยก็จะมีพลังน้อยลงตามลำดับ
ค่า อัษฏะพละ, กัษฏะพละ และ ภวะพละ จะไม่ถูกนับรวมในค่ารวมของษัทพละ

11. สรุป
สิ่งที่น่าสนใจในษัทพละคือ เป็นระบบที่ทำให้เรารู้ได้ว่าดาวแต่ละดวงมีพลัง ความเข้มแข็ง หรืออ่อนแอมากเพียงใดด้วยค่าหน่วยกำลังตามผลคำนวน เรายังสามารถพิจารณาได้อีกด้วยว่าค่าความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอเหล่านั้น พิจารณาจากเหตุผลอะไร

ทั้งนี้ องค์ประกอบของการคำนวณหาค่าหน่วยกำลังในษัทพละ
บางข้อก็น่าพิจารณาเป็นพิเศษ ได้แก่
อุชะพละ (1.1.),
สัปตวรรคพละ (1.2),
เกณฑ์พละ (1.4),
ทีคะพละ (2),
เจษฏะพละ (4),
ทริกะพละ (6).

 

 

 

 

 

 

 

ตาบอดส่องตะเกียง :-

เอาศัพท์มาตรเวลามาฝาก เพื่อให้เข้าใจในการแปลเกี่ยวกับมาตรเวลาของทางฮินดูโบราณ จากคัมภีร์วิษณุปุราณะ ในขัณฑ์ที่ 1 วรรคที่ 3 ซึ่งมีมาตรเวาลาอยู่ว่า :-

15 นิเมษ (พริบตา) = 1 กาษฐา

30 กาษฐา = 1 กลา

30 กลา = 1 มหูรตะ

30 มหูรตะ = 1 วันกับคืน

1 วัน ประมาณ 24 ชม. หรือ 1440 นาที หรือ 86400 วินาที หรือ 30 มหูรตะ

1 มหูรตะ จึงประมาณ 48 นาที หรือ 2880 วินาที

1 กลา จึงประมาณ 1.36 นาที หรือ 96 วินาที

1 กาษฐา จึงประมาณ 0.106 นาที หรือ 3.12 วินาที

1 นิเมษ(พริบตา) จึงประมาณ 0.125 วินาทีโดยประมาณ

ดาวเคราะห์ที่เป็นมหามิตรใหญ่ คือ:-
อาทิตย์ เป็นมหามิตรกับ พฤหัส
จันทร์ เป็นมหามิตรกับ พุธ
อังคาร เป็นมหามิตรกับ ศุกร์
เสาร์ เป็นมหามิตรกับ ราหู

ดาวเคราะห์ที่เป็นอภิศัตรูใหญ่ คือ:-
อาทิตย์ เป็นอภิศัตรูกับ อังคาร
จันทร์ เป็นอภิศัตรูกับ พฤหัส
พุธ เป็นอภิศัตรูกับ ราหู
ศุกร์ เป็นอภิศัตรูกับ เสาร์

ดาวเคราะห์ที่เป็นมิตรกันและศัตรูกัน แบบธรรมดา คือ:-
ดาวอาทิตย์ เป็นมิตรกับจันทร์ อังคารและพฤหัสบดี เป็นกลางกับพุธ เป็นศัตรูกับศุกร์ และเสาร์
ดวงจันทร์ เป็นมิตรกับอาทิตย์ และพุธ เป็นกลางกับอังคาร และพฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ไม่เป็นศัตรูกับดาวอื่น
ดาวอังคาร เป็นมิตรกับอาทิตย์ จันทร์ และพฤหัสบดี เป็นกลางกับศุกร์และเสาร์ เป็นศัตรูกับพุธ
ดาวพุธ เป็นมิตรกับอาทิตย์ และศุกร์ เป็นกลางกับอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เป็นศัตรูกับจันทร์
ดาวพฤหัสบดี เป็นมิตรกับอาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เป็นกลางกับเสาร์ เป็นศัตรูกับพุธ และศุกร์
ดาวศุกร์ เป็นมิตรกับพุธและเสาร์ เป็นกลางกับอังคาร และพฤหัสบดี เป็นศัตรูกับอาทิตย์ และจันทร์
ดาวเสาร์ เป็นมิตรกับศุกร์ และพุธ เป็นกลางกับพฤหัสบดี เป็นศัตรูกับอาทิตย์ จันทร์ และอังคาร

ดาวเคราะห์ที่เป็นศัตรูตามตำนานดาวเคราะห์ อีกอันหนึ่ง
๑ เป็นศัตรูต่อ ๗
๒ เป็นศัตรูต่อ ๕
๓ เป็นศัตรูต่อ ๑ และ ๔
๔ เป็นศัตรูต่อ ๘
๕ เป็นศัตรูต่อ ๘
๖ เป็นศัตรูต่อ ๗
๗ เป็นศัตรูต่อ ๓
๘ เป็นศัตรูต่อ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔

ครึ่งแรกของแต่ละราศี ( 00.00 ถึง 15.00 องศา )
ราศีเมษ............อาทิตย์ (ลิง)
ราศีพฤษภ........จันทร์ (ไก่)
ราศีเมถุน..........อาทิตย์ (สุนัข)
ราศีกรกฎ.........จันทร์ (สุกร)
ราศีสิงห์...........อาทิตย์ (หนู)
ราศีกันย์...........จันทร์ (โคตัวผู้)
ราศีตุลย์...........อาทิตย์ (เสือ)
ราศีพิจิก...........จันทร์ (กระต่าย)
ราศีธนู..............อาทิตย์ (นาค)
ราศีมกร............จันทร์ (งูเล็ก)
ราศีกุมภ์............อาทิตย์ (ม้า)
ราศีมีน..............จันทร์ (แพะ)

ครึ่งหลังของแต่ละราศี ( 15.01 ถึง 30.00 องศา )
ราศีเมษ............จันทร์ ( แกะ )
ราศีพฤษภ........อาทิตย์ ( โคตัวเมีย )
ราศีเมถุน..........จันทร์ ( คนคู่ )
ราศีกรกฎ.........อาทิตย์ ( ปู )
ราศีสิงห์...........จันทร์ ( สิงโตตัวผู้ )
ราศีกันย์...........อาทิตย์ ( หญิงสาว )
ราศีตุลย์...........จันทร์ ( คนถือตราชั่ง )
ราศีพิจิก...........อาทิตย์ ( แมลงป่อง )
ราศีธนู..............จันทร์ ( หอยสังข์ )
ราศีมกร............อาทิตย์ ( สิงโตตัวเมีย )
ราศีกุมภ์............จันทร์ ( คนแบกหม้อน้ำ )
ราศีมีน..............อาทิตย์ ( ปลาตะเพียน )




ความรู้ทางโหราศาสตร์

ราศีเปรียบเทียบแสดงความหมายถึงอุปนิสัย article
ความหมายของภพ article
จันทร์ ครุ สุริยา และดวงจตุสดัยเกณฑ์ article
ดวงพินทุบาทว์ article
คู่ครอง หรือ ปัตนิ article
ดาวเคราะห์ผสมกันบอกลักษณะบุคคล article
คู่ครอง (ปัตนิ) กับเจ้าเรือน article
หลักที่ท่านห้ามเด็ดขาดมิให้สมรสกัน article
ทิศประจำราศี article
พระเคราะห์ให้คุณและโทษ article
ดาวต่าง ๆ โคจรทับลัคนา article
จักรทีปนีจร (ดาวจรกระทบดาวเดิม) article
วิธีพยากรณ์แบบภพผสมภพ article
หลักการพยากรณ์ เรื่องการสมรส article
ตำนานชาติเวร ดาวประจำวันเกิด โดย ส.วรศิลป article
ตำนาน พระอาทิตย์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระจันทร์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระอังคาร ตามชาติเวร article
ตำนาน พระพุธ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระพฤหัสบดี ตามชาติเวร article
ตำนาน พระศุกร์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระเสาร์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระราหู หรือ พุธกลางคืน ตามชาติเวร article
อาทิตย์ ทับ ดาว ต่างๆ article
จันทร์ ทับ ดาวต่าง ๆ article
อังคาร ทับ ดาวต่าง ๆ article
พุธ ทับ ดาวต่าง ๆ article
พฤหัสบดี ทับ ดาวต่าง ๆ article
ศุกร์ ทับ ดาวต่างๆ article
เสาร์ ทับ ดาวต่าง ๆ article
ราหู ทับ ดาวต่าง ๆ article
เกตุ ทับ ดาวต่าง ๆ article
มฤตยู ทับ ดาวต่าง ๆ article
ระยะต่าง ๆ ของดาวจันทร์ article
เวลาดวงอาทิตย์ ขึ้น-ลง http://www.navy.mi.th/hydro/sun.htm article
พฤหัตชาฎก article
โษฑศวรรค (ตาบอดส่องตะเกียง) article
ฤกษ์ โดย Nemo article
มรณะองศา ของดาวต่าง ๆ (ตาบอดส่องตะเกียง) article
มฤตยู โดย อาจารย์ Nemo article
ฤกษ์โดยตาบอดส่องตะเกียง&นีโม่ article
ภฤคุสูตร โดย Nemo article
" ตฤมศำศ " article
ดาวศุกร์อยู่ราศีใดมีความหมายอย่างไร article
ดาวมาตราฐาน และ ความหมาย article
ตนุจันทร์,สหัชชะ,คู่ครอง,กาลกิณี อยู่ในเรือนต่าง ๆ article
การพยากรณ์พื้นดวงชาตากำเนิดขั้นต้น article
เรื่อง ดาวพักร –เสริด-มนท์ article
ดาวเคราะห์ (ดาวเคลื่อนที่) ระยะห่างของดาว article
กฎ ลบ – ลบ กลายเป็นบวก article
การใช้สี และ อัญมณีประจำวันเกิด
เกณฑ์ดาวคู่มิตร , คู่ธาตุ, คู่สมพล, คู่ศัตรู
เกณฑ์การวางลัคนาดวงฤกษ์ตามกนกกุญชร
ข้อปฏิบัติในการให้ฤกษ์
เทียบเวลาเมืองกรีนิช(อังกฤษ) article
ตารางการเปลี่ยนแปลงเวลาอาทิตย์อุทัย article
ระยะการเดินทางของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ article
ทิศทางที่ให้โทษตามทักษา article
ทิศตามทักษา article
อิทธิพลของดาว อริ, มรณะ, วินาศนะ article
ความหมายของทักษา article
การหาตนุเศษ article
จันทร์ ครุ สุริยา และดวงจตุสดัยเกณฑ์ article
ศัพท์ทานุกรมโหร article
การให้ฤกษ์ฉบับง่าย "พลูหลวง" article
เคล็บลับการพยากรณ์ (1) 001-200 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (2) 201-242 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (3) 243-351 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (4) 352-433 article
เคล็ดลับการพยากรณ์ (5) 434-500 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (6) 501-1516 article
ข้อแนะนำในการศึกษาวิชาโหราศาสตร์ article
เรียนโหราศาสตร์ให้รู้จริงได้อย่างไร article
กริ๊ง....สาวมิสทีนมาแล้วค่ะ โดย คนกันเอง article
โหราสาด (ฉบับเรียนรู้ โดยไม่ต้องถาม) อ.สอ้าน(สีดิน) article
ดวง 10 ลัคนา อ.สอ้าน นาคเพชรพูล
ปัญหาเรื่องการตัดเวลาท้องถิ่น อ.สุรพล พฤกษ์ไพบูลย์ article
การปรับเวลาท้องถิ่น โดย อ.โฮ๋ราสาด article
อาจารย์คนใหม่ วรพล ไม้สน (พลังวัชร์) article
ดูดวงแบบอินเดีย (c_the_moon) โดยอาจารย์ พลังวัชร์ article
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เสถียร โพธินันทะ article
ยามเมื่อดาวเดินถอยหลัง 1 article
ดาวพฤหัสมาเล็งดวงเมืองไทย article
บทความ โดย อาจารย์ สิทธา สิทธิโชค article
มฤตยู โดย อาจารย์ ซิเซโร (ยอดธง ทับทิวไม้ article
มรณะองศาของดาวต่างๆ โดย อ. neemo article
ปกิณกะ โดย อ. neemo article
เรื่องของเกณฑ์ โดย อ. neemo article
เรื่องผลของเรือน โดย อ.neemo article
หลักที่ท่านห้ามเด็ดขาดมิให้สมรสกัน ดังนี้ Name : khemjira article
ภูมิปัญญาจากอดีตสู่ความหวังในอนาคต โดย ทันตแพทย์ธีระพันธ์ แสงไพบูลย์
โหราศาสตร์ไทยพาราณสี โดย ทันตแพทย์ธีระพันธ์
โหราศาสตร์วิชาป้องกันการตายโหง ทันตแพทย์ธีระพันธ์ แสงไพบูลย์ article
ปริศนาช่วยวิเคราะห์เนื่องในวันแดงเดือด 15625 article
ทำไมการปฏิวัติของเราถึงทำในวันที่ 20 กันยา จักรพยุหะ article
วิเคราะห์เนื่องในวันแดงเดือด จักรพยุหะ article
เรื่องจักรพยุหะ จากคุณ 15625 article
คนอียิปต์ จริงใจแต่ไหน ? โดย เอกชัย
“บอกแล้ว....ก็ไม่เชื่อ” โดย เอกชัย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.


-

-


Since 2003 - 7 - 11 Best View 1024 x 768 pixels...... www.horawej.com Email address: horawej@horawej.com
เว็บไซด์โหราเวสม์ (จำหน่ายโปรแกรมโหราศาสตร์ต่าง ๆ เว็บเพื่อการศึกษาทางวิชาโหราศาสตร์) โดย นายวิชิต เตชะเกษม โทร. 08-1844-3372
พร้อมหนังสือ เกี่ยวกับวิชาโหราศาสตร์จาก เขษมบรรณกิจ 25 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กทม 10600
โทร. 02-439-2339, 02-439-7388-9, Fax. 02-439-7387 (หยุดวันอาทิตย์)
www.scb.co.th/