ReadyPlanet.com
dot
dot
นิตยสาร " โหราเวสม์ "
dot
bulletนิตยสาร "โหราเวสม์" ๔๘-๕๗
bullet:: ผูกดวง วางลัคนา หาสัมผุสดาว (ตามหลักคัมภีร์สุริยยาตร์) ::
bullet:: ผูกดวง วางลัคนา หาสัมผุสดาวตามปฏิทินดาราศาสตร์ (ลาหิรี) ::
bulletดูดวง ตามปี นักษัตร โหรหลวง
dot
เวป เพื่อนบ้าน
dot
bullethora-thai.com
bullethorasad.com
bullethorasad7.com
bullettiantek.com
bullettiantekpro.com
bullethenghengheng.com
bullet10luckastro.com
bulletตรวจล็อตเตอรี่
bulletค้นหาเบอร์โทรศัพท์
bulletค้นหาคำศัพท์
bulletค้นหารหัสไปรษณีย์
bulletOnline-Image-Converter
bulletAffiriate Area
bulletนำเข้าสินค้าจากจีน
bulletTaobao
bulletเฟอร์นิเจอร์
bulletกระบอกน้ำ
bulletของพรีเมี่ยม
bulletร่ม
dot
ข่าวสาร
dot
bulletเดลินิวส์
bulletไทยรัฐ
bulletข่าวสด
bulletบ้านเมือง
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletกรุงเทพธุรกิจ
bulletผู้จัดการ
dot
เวปเพื่อนบ้าน แลกลิ้ง โฆษณา
dot
bulletเวปเพื่อนบ้าน
bulletแลกลิ้งที่นี่ LINK EXCHANGE
bulletโฆษณา คลิกที่นี่
dot
อาจารย์ เทียนเต็ก
dot
bulletดูดวงจีนฟรี กับ อ.เทียนเต็ก
bulletspeedtest.adsl
bulletYOUTUBE เวิ้งนครเขษม บ้านเรา


รับตั้งศาลต่าง ๆ

าจารย์โชคชัย เงินดี
รับตั้งศาลพระภูมิ เจ้าที่
พระพรหม และ
ถอนศาลต่างๆ
โทร:081-880-6143

 

พิธีพุทธาภิเษกวัจถุมงคลพระพิฆเณศมหามงคล รุ่น 1 วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2555
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

โปรแกรมผูกดวงจีน
อาจารย์เทียนเต็ก

โปรแกรม
ตรวจสอบโชคลาภความร่ำรวย
ราคา 300 บาท

โปรแกรมดูดวงจีน 2 ภาษา
windows mobile

โปรแกรมดวงจีน
"รู้หนึ่ง-รู้หมด"
ดูดวง,หาฤกษ์ด้วยตนเอง

โปรแกรม Tian-Tek Pro Version 1
ราคา 1,000 บาท

VCDและDVD เรียนดวงจีน
ชุดที่ 1-2-3

0

Download ฟรี.
ตลับเมตรไฮเทค (ดีที่สุดในโลก)วัดได้ยาวไกลที่สุด

วัตุถุมงคล
เสริมดวง แก้ชง
สะเดาะเคาะห์ ต่อชะตา

ดวงจีนและฮวงจุ้ย
ที่เป็นวิทยาศาสตร์

อาจารย์อ๊อดวัดสายไหม
เจ้าตำรับตระกรุดลูกปืน
(1ส.ค.2550)

หลวงหนุ่ย
ที่สุดแห่งเจ้าพิธีเทวาภิเษก
จตุคามราเทพ 27 มิ.ย.2550

ที่เขาว่ารวยเพราะปี่เซียะหรือเป็นที่ฮวงจุ้ยกันแน่

ประวัติปี่เซียะ 貔貅

ตำแหน่งขุมทรัพย์
มหาเศรษฐี

ฮวงจุ้ย คู่สมพงศ์
ชง - ฮะ

ฮวงจุ้ยคนตาย

การตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ดวงปี 51ดวงฮวงจุ้ยให้โทษ
นี่เป็นลิขิตฟ้า-ยากจะฝืน

คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี
ไปสู่สถานที่ดี

เปิดกรุจตุคามรามเทพ
รุ่นที่ คุณสนธิไม่มี

เหรียญมงคล แก้ชง เสริมดวง
สะเดาะเคาะห์ต่อชะตา
ที่ร้านเซเว่นทุกสาขา

สถานีโทรทัศน์สีช่อง 7. สี(กระจก 6 ด้าน) มาทำข่าวเกี่ยวกับ ปี่เซียะ"貔貅

svautoshop  xenon

 

อาจารย์ รสสุคนธ์
รับสอนโหราศาสตร์ไทย
ตามทฤษฎี นวางศ์จักร
(อ.บุศรินทร์ ปัทมาคม)

หลักสูตร 2 เดือน 40 ชม.
เน้นการพยากรณ์เป็นหลัก
เพื่อดูดวงได้จริง
รับงานพยากรณ์
งานอีเว้นท์ นอกสถานที่
ติดต่อ
086-3582656
ossukon7155@gmail.com
ดูดวงผ่าน
1900 111 080
หรือ App Horaworld
รหัส 153

รับพยากรณ์ดวงจีน

อ.มังกร (แซ่จึง)
มณีเกียรติไพบูลย์
พยากรณ์ดวงชะตาจีน
(ซี้เถียวโป๊ยยี่)
ฤกษ์จีน แต่งงาน
ออกรถ
ขึ้นบ้านใหม่
มือถือ
081-459-9550
บ้าน
02-870-2450



การปรับเวลาท้องถิ่น โดย อ.โฮ๋ราสาด article

เรื่อง การปรับเวลาท้องถิ่น เวลาอัตรา และการหาลัคนา "ทำไมผมต้อง(ไม่) ลบ 18 นาที"

เมื่อได้เวลาเกิดมาแล้ว นำเอาเวลาเกิด มาหาลัคนา มีอยู่ 2 แนวทาง โดย
1) เอาเวลาเกิดตั้ง แล้วเอาตัวปรับแก้ลบ เช่น ลบ 18 นาที สำหรับ กทม หรือ ลบ 24 นาที สำหรับ เชียงใหม่ แล้วเอาเวลานั้น ไปหาลัคนาหรือมิฉะนั้น
2) เอาเวลาเกิด ไม่ต้องลบ นำเอาเวลานั้น ไปหาลัคนาเลย  ฝ่ายที่ทำข้อ 1 ก็ให้เหตุผลว่า เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาเมื่อปี 2463 กำหนดให้ประเทศไทย ใช้เวลามาตรฐานที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก เช่น กทม. อยู่ที่ 100 องศา 30 ลิปดา ก็ปรับเลื่อนเวลาเร็วขึ้น 18 นาที ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็ปรับแก้เป็นสัดส่วนกันไปตาม ตำแหน่งเส้นแวงที่อยู่ก็เลยนำเหตุนั้น มาใช้เมื่อหาลัคนาแต่ที่จริง การให้เหตุผลนั้น โดยมากจะทำเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ลองมาดูว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

วิธีการหาลัคนา
สำหรับ ผู้ที่ใช้แผ่นหมุน คือ ตั้งองศาอาทิตย์ขึ้นตอน 6 โมง(ปกติ จะหาโดยการเอาองศาอาทิตย์ในปฏิทินคืนก่อนหน้าวันเกิดตั้ง แล้วเอา 15 ลิปดาบวก) แล้วก็ดูเวลาไปตามแผ่น แล้วก็เทียบเป็น ราศี องศา ตามที่เวลาตรงกันนั้น
การคำนวณ ก็ต้อง นำเวลาเกิดมาลบออกจากเวลาอาทิตย์ขึ้น จากนั้น ก็นำ องศาอาทิตย์ขึ้น มาหา อันโตนาทีอดีต อนาคต ฯลฯ จะเห็นว่า มีเรื่องของเวลาอาทิตย์ขึ้น เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในเหตุผลข้างต้น กลับไม่มีการกล่าวถึงในเรื่องนี้เลย
สำหรับ ผู้ที่ใช้แผ่นหมุน ตั้งองศาอาทิตย์ขึ้น ที่ 6 โมงเช้า นี่ยิ่งไม่สนใจเลย เพราะ อาทิตย์ขึ้น ไม่ได้ขึ้น 6 โมงทุกวัน ทุกจังหวัดแน่นอน ดังนั้น การตั้ง 6 โมง การเอาเวลามาปรับแก้เช่น ลบ 18 นาที โอกาสที่จะได้ลัคนาผิดไป หรือ ใกล้กับความจริง มีมากพอๆกัน (ไม่ใช่ว่าปรับแล้ว จะได้ลัคนาใกล้กับความจริงถูกต้องขึ้น เสมอไป)
สำหรับ ผู้ที่ใช้การคำนวณหาลัคนา จะต้องดูด้วย ว่า เวลาอาทิตย์ขึ้น ที่นำมาใช้นั้น เป็นเวลาอาทิตย์ขึ้น ท้องถิ่น หรือ เป็นเวลามาตรฐาน
หากเวลาอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นเวลาท้องถิ่น เวลานั้นได้มาจากไหน
เวลาอาทิตย์อุทัย (เวลาอาทิตย์ขึ้น)
1)เกิดจากเอาเวลาอาทิตย์ขึ้นที่เป็นเวลามาตรฐาน นำมาลบตัวปรับแก้เวลาแบบเดียวกันกับ การปรับแก้เวลาเกิด ที่ได้อธิบายไปข้างต้น อันนี้ ไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงที่สุด หรือ
2)เป็นเวลาอาทิตย์ขึ้น ณ จังหวัดที่เกิดจริง จากการบันทึก สำรวจ เช่น เมื่ออาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า ก็ดูนาฬิกาที่ข้อมือ แล้ว จดบันทึกลงไป แต่การทำแบบนี้ จะต้องรู้ด้วยว่า
- เวลานาฬิกานั้น เป็นเวลามาตรฐาน ไม่ใช่เวลาท้องถิ่น
- การเห็นขอบดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมานั้น ไม่ใช่ สิ่งที่ใช้ในการคำนวณสุริยยาตร์ ซึ่งใช้จุดคำนวณ ณ จุดศูนย์กลางของดาว ไม่ใช่ที่ขอบของดาว และการเห็นขอบของดวงอาทิตย์ จะผ่านการหักเหของแสงเนื่องจากชั้นบรรยากาศ รวมแล้ว ทำให้เวลาผิดไปประมาณ 3 นาที 40 กว่าวินาที และยังต้องหักเวลานาฬิกาเป็นเวลาท้องถิ่นอีกด้วย
3)เป็นเวลาอาทิตย์ขึ้น ณ จังหวัดที่เกิดจริง จากการคำนวณ โดยใช้เส้นรุ้งแวง ของสถานที่เกิด อันนี้ เวลาที่ได้เป็นเวลาท้องถิ่น
เช่น จากการคำนวณ วันที่ 18 ธันวาคม พ..2544 อาทิตย์ขึ้นที่ กทม. 6:35. (เวลามาตรฐาน) และ ขึ้นที่ เชียงใหม่ วันเดียวกัน เวลา 6:50. (เวลามาตรฐาน) จะเห็นว่า ที่เชียงใหม่ อาทิตย์ขึ้นช้ากว่า ที่กทม. 15 นาที อันนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะ เชียงใหม่ อยู่ไปทางตะวันออกหรือ ตะวันตกของ กทม. เพราะเชียงใหม่ อยู่ที่ 98 องศา 59 ลิปดา ส่วน กทม.ที่ 100 องศา 30 ลิปดา ต่างกันแค่เพียง 1 องศา 31 ลิปดา เท่านั้นเอง ซึ่งจะเป็นเวลาต่างกันประมาณ 6 นาที แต่จากเวลาที่คำนวณข้างต้น เกิดจากการนำเอาตำแหน่งเส้นรุ้งมาคิดด้วย จึงทำให้เวลาต่างกันถึง 15 นาที นอกจากนี้ การคำนวณยังให้ผลที่จุดศูนย์กลางของดวงซึ่งจะนำไปใช้ในการคำนวณต่อไป
จะเห็นว่า การหาลัคนา จะเป็นการนำเอาเวลาต่างของเวลาเกิด กับ เวลาอาทิตย์ขึ้น มาแปลงเป็นองศาอาทิตย์ โดยการนำเอาเวลาเกิด ตั้ง เวลาอาทิตย์ขึ้นลบเวลาเกิด - เวลาอาทิตย์ขึ้น  ทั้งสองอันจะต้องเป็นเวลาเดียวกัน เช่น เวลาท้องถิ่น ก็ต้องท้องถิ่นเหมือนกัน เวลามาตรฐาน(นาฬิกา) ก็ต้องเป็นแบบเดียวกัน จึงจะมาลบกันได้
(เวลาเกิด-ตัวปรับแก้เวลาให้เป็นเวลาท้องถิ่น) - (เวลาอาทิตย์ขึ้น-ตัวปรับแก้เวลาให้เป็นท้องถิ่น)
จะเห็นว่า ทั้งสองอันมีค่าเท่ากัน เพราะ ลบออกด้วยตัวเดียวกัน จึงมีค่าเท่ากันไม่ว่าจะปรับเป็นเวลาท้องถิ่นหรือไม่ปรับ จะต้องได้ค่าเท่าเดิม
นอกจากนี้ การนำเอาเวลาอาทิตย์ขึ้นที่เป็นท้องถิ่น ไปหาองศาอาทิตย์อุทัย ก็ไม่ถูกต้อง เพราะเวลาเราคำนวณ องศาอาทิตย์กำเนิด เราใช้เวลาเกิดที่เป็นเวลามาตรฐาน (ไม่ได้แก้เวลาท้องถิ่น) ไปหาองศาอาทิตย์กำเนิด แต่ทำไมตอนหาองศาอุทัยกลับเอาเวลาอาทิตย์ขึ้นซึ่งเป็นเวลาท้องถิ่นไปหา จะเห็นว่า น่าจะเป็นข้อผิดพลาดอีกส่วนหนึ่ง
พอก่อนตรงนี้นะครับ แล้วจะมาต่อ หากมีคนสนใจ
หาลัคนา ทำไมผมต้อง(ไม่)ตัดเวลาท้องถิ่น ตอน ๒ บทสรุป
 
โดยทั่วไป การหาลัคนา จะประกอบด้วยเวลา ๒ ส่วน คือ
เวลาเกิด และ เวลาอาทิตย์ขึ้นทั้งสองเวลา จะต้องเป็นเวลาประเภทเดียวกัน คือ หากเวลาเกิดเป็นเวลามาตรฐาน เวลาอาทิตย์ขึ้นจะต้องเป็นเวลามาตรฐานเช่นกัน และ กลับกัน หากเวลาเกิดเป็นเวลาท้องถิ่น เวลาอาทิตย์ขึ้นก็ต้องเป็นเวลาท้องถิ่นด้วยเช่นกันและหากใช้เวลาอาทิตย์ขึ้น จะต้องแน่ใจว่า เป็นเวลาอาทิตย์ขึ้น ณ จังหวัดนั้นจริง คือ คิดจากเส้นรุ้งและเส้นแวง มิใช่ เพียงแค่เอาเวลาอาทิตย์ขึ้นที่ท่าเรือ แล้วแปลงเวลามาเป็นเวลาจังหวัดนั้น เช่น หน้าหนาว พระอาทิตย์โคจรปัดใต้ จังหวัดทางใต้ จะต้องเห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อน จังหวัดทางตะวันออกเช่น จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

การปฏิบัติส่วนใหญ่ เมื่อใช้จานหมุนหาลัคนา จะนำเวลาเกิดมาลบตัวแก้ปรับเป็นเวลาท้องถิ่น เช่น เกิด กทม. ก็เอา 18 นาทีไปลบ จากนั้น ก็ตั้งองศาอาทิตย์ขึ้นที่ เลข 6. แล้วก็ไปดูว่า เวลาเกิด(ที่ลบเวลาท้องถิ่นออกไปแล้ว) ตรงกับ องศาใดราศีใด อันนั้น คือ องศาและราศีของลัคนากำเนิด สรุปเป็นขั้นตอนการหาลัคนาที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติกัน(แต่ไม่ถูก) ดังนี้

1. ลบ 18 นาที ออกจากเวลาเกิด
2. ตั้งองศาอาทิตย์ขึ้น (โดยบวก 15 ลิปดาจากองศาอาทิตย์ตอน 24:00. ในปฏิทิน) ที่ 6.ในจาน
3. ดูว่า เวลาเกิดตรงกับราศีอะไร กี่องศาในจานหมุนคราวนี้ สมมติ เกิดตอน 6 โมงเช้า ลบออก 18 นาที จะเป็น 05:42. นำไปหาลัคนาตามขั้นตอนข้างต้น จะได้องศาน้อยกว่า องศาอาทิตย์ขึ้น ซึ่งเห็นชัดๆว่าไม่ถูกต้อง หากเกิด 6 โมงเช้าเวลาอาทิตย์ขึ้น ก็ต้องมีองศาลัคนา เท่ากับอาทิตย์นั้น
หากบอกว่า เกิด 06:18. เพื่อจะได้ลบแล้ว เป็นเวลา 6 โมงเช้าพอดี แสดงว่า อาทิตย์ขึ้นตอน 06:18. ไม่ใช่ 6 โมงเช้า หรือ มิฉนั้น ก็ต้องบอกว่า 6 โมงเช้าที่อาทิตย์ขึ้นนี้ เป็นเวลาท้องถิ่น มิใช่เวลามาตรฐาน ด้วยเหตุผลในเรื่องเวลาจะต้องเป็นชนิดเดียวกัน ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น และหากจะพูดว่าอาทิตย์ขึ้นเมื่อไร ก็ต้องตอบว่า 06:18. ครับ ไม่ใช่บอกว่า ขึ้นเวลา 6 โมงเช้า เพราะนั่นไม่ใช่เวลานาฬิกา แต่เป็นเวลาท้องถิ่นและหากบอกว่า 6 โมงเช้า เป็นเวลาอาทิตย์ขึ้นท้องถิ่น ก็จะผิด เพราะว่า องศาอาทิตย์ที่นำมาตั้งที่ 6 โมง เป็น องศาอาทิตย์สำหรับเวลามาตรฐาน (มาจากปฏิทิน 24:00. เวลามาตรฐาน)

สรุป
หากหมุนจานหาลัคนา ตั้งองศาอาทิตย์ขึ้นที่ 6. ไม่ต้องตัดเวลาเกิดให้เป็นท้องถิ่น
หากใช้วิธีคำนวณ จะต้องหาเวลาอาทิตย์ขึ้น ณ จังหวัดนั้นๆ ให้ได้จริง จากนั้นค่อยใช้เวลานั้นแปลงเป็นเวลานาฬิกา แล้วหาองศาอาทิตย์ขึ้นต่อไป ไม่จำเป็นต้องตัดเวลาเกิดเป็นเวลาท้องถิ่น เพราะเวลาเกิดและเวลาอาทิตย์ขึ้นจะเป็นเวลาชนิดเดียวกัน คือ เวลามาตรฐาน
เรื่องของเวลาในปฏิทินสุริยยาตร์

ปฏิทิน(ปฏิทิน ๑๐๐ ปี บอกเฉพาะดาวอาทิตย์-จันทร์ทุกวัน หรือ แบบดาราศาสตร์บอกทุกดาวทุกวัน รวมทั้งไดอารี่โหรประจำปี)ที่คำนวณตามแบบสุริยยาตร์ที่เราใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คือ ปฏิทินของอ.ทองเจือ และ ปฏิทินของอ.จำรัส ศิริ ส่วนปฏิทินของหลวงอรรถฯ นั้นคงไม่มีในปัจจุบันแล้ว โหรและผู้สนใจในโหราศาสตร์ทุกท่าน เมื่อต้องการผูกดวง หรือ ดูฤกษ์ จะต้องใช้ปฏิทินเพื่อดูตำแหน่งดาวประจำวันที่ต้องการ ซึ่งในปฏิทินระบุไว้ว่า บอกตำแหน่งดาวเวลา ๒๔:๐๐ น.ของทุกวัน ในปฏิทิน ไม่ได้บอกเอาไว้ว่า เวลา ๒๔:๐๐ น.นั้น เป็นเวลาอะไร
บางท่านอาจจะไม่ทราบว่า เวลาในโหราศาสตร์ เป็นเรื่องที่สับสนพอสมควร เพราะมีอยู่หลายแบบที่เราใช้กันอยู่ (หากท่านที่ทราบดีอยู่แล้ว กรุณาอ่านผ่านไป หรือหากต้องการอ่านพอผ่านๆก็ได้ครับ เพื่อให้แน่ใจว่าเราเข้าใจตรงกัน) ดังนั้น ก่อนจะอธิบายต่อไป ขอปูพื้นให้ท่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับเรื่องเวลา พอทราบเป็นสังเขปดังนี้

1. เวลามาตรฐานประเทศไทย ตั้งที่ Longitude 105 องศาตะวันออก เทียบเท่ากับ 7 ชั่วโมงก่อนเวลากรีนิช อันนี้ ถือเป็นเวลาที่เข้าใจกันในปัจจุบัน ตามสากลนิยม ซึ่ง Longitude คือเส้นแวงที่ 105 นั้น อยู่ประมาณที่จังหวัด อุบลราชธานี

2. เวลาท้องถิ่น เนื่องจากโลกกลม เมื่อตำแหน่งที่ตั้งอยู่ห่างกัน ระยะทางย่อมหมายถึงเวลาที่ต่างกันด้วย เช่น ประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศไทย จะมีเวลาที่เร็วกว่าประเทศไทย หมายถึงว่า จังหวัดที่อยู่ทางตะวันออกจะมีเวลาท้องถิ่นที่เร็วกว่าจังหวัดทางตะวันตก ดังนั้น เมื่อแปลงเวลามาตรฐานมาเป็นเวลาท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด จะได้ค่าที่แตกต่างกัน เช่น เวลาเกิด 08:00. จะเป็นเวลาท้องถิ่นที่จังหวัดอุบลราชธานี 08:00. และเป็นเวลาท้องถิ่นที่กทม. 07:42 (เอา 08:00 - 18 นาที) คือ เวลาท้องถิ่นที่กทม.จะช้ากว่าเวลานาฬิกามาตรฐานประเทศไทยอยู่ 18 นาที

ข้อควรระวัง เรื่องนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องหมายถึง จังหวัดที่อยู่ทางตะวันตกจะเห็นแสงอาทิตย์ช้ากว่าจังหวัดทางตะวันออกเสมอไป ทั้งนี้ ต้องดูด้วยว่า จังหวัดที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้น อยู่ในตำแหน่งเส้นรุ้ง (Latitude) เดียวกันหรือไม่ เพราะดวงอาทิตย์จะโคจรปัดไปทางทิศใต้มากในฤดูหนาว ทำให้จังหวัดในทางทิศใต้จะเห็นอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่า ถึงแม้จะอยู่ทางตะวันตก

เช่น ใน Latitude Longitude เวลาอัตรา
นราธิวาส 6.26 101.49 12
อุบลราชธานี 15.14 104.52 0
ที่จังหวัด อุบลราชธานี

วันที่ 1 มกราคม อาทิตย์ขึ้นเวลา 06:26. ตามเวลานาฬิกา
หากเอาเวลาอัตรามาลบ จะได้ว่า อาทิตย์ขึ้นที่จังหวัด นราธิวาสช้ากว่าอุบล 12 นาที จะได้ 06:38.
แต่ที่จริงๆแล้ว ที่จังหวัด นราธิวาส
อาทิตย์ขึ้นเวลา 06:23. ตามเวลานาฬิกา
ข้อเท็จจริง ผู้ที่อยู่ที่นราธิวาสจะเห็นแสงอาทิตย์ก่อนคนอยู่ที่อุบล 3 นาที ในวันที่ 1 มกราคม

เหตุผล
นราธิวาสอยู่ทางตะวันออกของอุบล หากคำนวณโดยใช้ข้อมูลของเวลาอัตรา ซึ่งคิดมาจาก Longitude อย่างเดียว จะผิด เพราะการเห็นแสงอาทิตย์ จะต้องคำนึงถึงข้อมูลของ ทั้ง Latitude และ Longitude และ วันเวลา เพราะ อาทิตย์จะโคจรปัดไปทางทิศใต้มากกว่าในฤดูหนาว (สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ตำราโหราศาสตร์ทั่วไป สอนให้หาเวลาอาทิตย์ขึ้น โดยนำเวลาอัตราไปลบจากเวลาอาทิตย์ขึ้นในตารางที่อยู่ในหนังสือ ผลที่ได้คือ จังหวัดที่อยู่ทางทิศตะวันตก จะเห็นอาทิตย์ขึ้นช้ากว่าเสมอ)
3. เวลาท้องถิ่นมาตรฐานกรุงเทพ สมัยก่อนที่จะมีประกาศใช้เวลามาตรฐาน +7 ชม.ก่อนกรีนิช ดังเช่นในปัจจุบัน การใช้เวลามีการใช้เวลามาตรฐานอยู่บ้าง เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงประกาศใช้เวลาของประเทศให้ตรงกัน เป็นเวลาของพระนคร ทั้งประเทศให้ใช้เวลาเดียวกันเป็นมาตรฐาน ซึ่งเราจะเทียบว่า เป็นเวลามาตรฐานกรุงเทพ (ตามแบบที่เราใช้เวลามาตรฐานอุบลที่เส้นแวง 105) ก็น่าจะได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ ไม่มีใครพูดถึงเวลาชนิดนี้ บางท่านอาจจะคิดว่า ผมเอาอะไรมาพูด เพราะเรื่องนี้ รู้ๆกันอยู่แล้ว และ เถียงกันมานานแล้ว แต่ผมจะลองบรรยายต่อไป ขอโปรดติดตามดูต่อไปว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในบทความนี้บ้าง
ตามการสอนในตำราโหราศาสตร์ทั่วไป สำหรับ การผูกดวง (ยังไม่พูดถึงการวางลัคนา หรือ หากท่านที่สนใจ เฉพาะลัคนา กรุณาอ่านกระทู้ 2947 เรื่อง การปรับเวลาท้องถิ่น เวลาอัตรา และการหาลัคนา "ทำไมผมต้อง(ไม่) ลบ 18 นาที" และ 2961 หาลัคนา ทำไมผมต้อง(ไม่)ตัดเวลาท้องถิ่น ตอน ๒ บทสรุป โดยโฮ๋ราสาด)

ผลกระทบของเรื่องเวลาต่อการผูกดวง
การผูกดวงที่สอนกัน โดยทั่วไป มีอยู่ 2 แบบ คือ
1. ใช้เวลาเกิดของเจ้าชะตา ไม่แปลงเป็นเวลาท้องถิ่น (ไม่ลบเวลาอัตรา) เช่น คนเกิด 12:00. ที่เชียงใหม่ ก็ใช้เวลา 12:00. ไปเปิดปฏิทินหาตำแหน่งดาวเลย
2. ใช้เวลาเกิดของเจ้าชะตา แปลงเป็นเวลาท้องถิ่น (ลบเวลาอัตรา) เช่น คนเกิด 12:00. แปลงเป็นเวลาท้องถิ่นเชียงใหม่ โดย 12:00 - 24 นาที(เวลาอัตราของเชียงใหม่) = 11:46.
การผูกดวงทั้งสองแบบ มีผลทำให้ตำแหน่งดาวผิดกันไปบ้าง ในบางกรณี ที่เผอิญดาว ย้ายราศีช่วงนั้น หรือ มีผลแน่นอน ทำให้องศาดาวต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า เวลาอัตราที่นำมาลบมีค่ามากหรือน้อยแล้วอย่างไหนจึงจะถูก
ฝ่ายข้อ 1. ให้เหตุผลว่า เมื่อเวลามาตรฐานในปฏิทิน เป็นเวลา 24:00. เอามาหา ชม. ที่เวลาเกิดห่างจาก 24:00. กับ หากเวลาในปฏิทิน เป็นเวลา 24:00 .เป็นเวลาท้องถิ่น เอาเวลาเกิดมาแปลงเป็นเวลาท้องถิ่น ก็จะได้จำนวนชั่วโมงที่ห่างจาก 24:00.เท่ากัน
เราลองมาดู ว่า จริงอย่างที่ ฝ่ายข้อ 1. กล่าวอ้างหรือไม่
สมมติ เกิดที่ เชียงใหม่ เวลาอัตรา= 24 นาที
หากคิดว่าเวลาปฏิทินเป็นเวลามาตรฐาน
เวลาเกิด 12:00.
จำนวนชั่วโมงที่ เกิดห่างจากเที่ยงคืน = 12:00-00:00 = 12 ชั่วโมง
หากเป็นเวลาท้องถิ่น
นำ 24:00. มาแปลงเวลาเป็นท้องถิ่น จะได้ 24:00-00:24 = 23:46.
นำเวลาเกิด 12:00 แปลงเป็นเวลาท้องถิ่นได้ 12:00-00:24 = 11:46.
จำนวนชั่วโมงต่าง = 11:46-23:46 = -12
ติดลบ เอา 24 ไปบวก = 12 ชั่วโมง
จะเห็นว่า ผลลัพธ์ เท่าเดิม คือ 12 ชั่วโมง ถูกตามที่ฝ่ายข้อ 1 กล่าวอ้าง (จริงหรือไม่ โปรดติดตามต่อไป) (ยาวจัง ขอพักให้น้ำก่อนนะครับ ท่านผู้อ่านก็คงจะตาลายด้วยเหมือนกันแหละ รับรองว่า เรื่องนี้มีข้อสรุปที่น่าสนใจ และ อาจจะถึงน่าตกใจ ก็ได้ อะแฮ่ม)
เวลาในปฏิทินสุริยยาตร์ (เรื่องน่าคิด) ตอนที่ ๒ (บทสรุป)
 
ตอนที่ ๒
ผมคิดอยู่นาน ในการเขียนบทความนี้ เพราะเป็นเรื่องยาก ที่จะเขียนให้เข้าใจ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ผู้อ่านต้องมีพื้นฐานในทางคำนวณ (สุริยยาตร์) มาบ้าง แต่ถึงกระนั้นก็ดี การพูดคุยกันระหว่างผู้ที่รู้เรื่องด้านคำนวณมาแล้ว ยังต้องใช้เวลาพอสมควร(หลายวัน) ในการคิดทบทวนและทำความเข้าใจ
แต่ไหนๆก็เขียนมาแล้ว และคิดว่า น่าที่จะเป็นประโยชน์กับวิชาโดยรวม จึงจำจะต้องเขียนต่อไป แต่ว่าผมจะหยิบเอาข้อสรุปขึ้นมากล่าวก่อน จากนั้นจึงอธิบายเหตุผลที่มาไปทีละข้อ
เวลาในปฏิทินสุริยยาตร์เป็นเวลาท้องถิ่นที่มัธยมประเทศ สันนิษฐานเอาว่าเป็น สุโขทัย
หมายถึงอะไร หมายถึง เวลาบอกองศาดาวประจำวันที่ ๒๔:๐๐ น. และ เวลาดาวย้ายราศีต่างก็ เป็นเวลาท้องถิ่นที่นี้ ยกเว้น เวลาตัดฤกษ์ เช่น เวลาเปลี่ยนฤกษ์ล่าง ในไดอารี่โหร (ซึ่งตามเวลาที่แสดงในไดอารี่ จะบวกเวลาที่คำนวณในปฏิทินนี้เพิ่มไปอีก 18 นาที)

ผลกระทบ
1. การผูกดวงแบบไม่ตัดเวลา นั้นผิด
2. การผูกดวงแบบตัดเวลาเป็นเวลาท้องถิ่นแต่ละจังหวัดที่เกิด ก็ผิด อีกเช่นกัน
3. เวลาตัดฤกษ์ที่บอกในไดอารี่โหร ที่มีการบวกเพิ่มไปอีก 18 นาที ก็อาจจะผิดเช่นกัน ถ้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่า เวลานี้คือ เวลาท้องถิ่น กรุงเทพฯ
แต่การพิสูจน์ว่า เวลาท้องถิ่นนั้น เป็นที่ใด คงจะอยู่นอกเหนือบทความอันนี้ ในขณะนี้ แต่ในขั้นต้นขอสันนิษฐานตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ว่า โหราศาสตร์เข้ามาในประเทศไทยในสมัยสุโขทัย ที่มีการตัดศักราชและใช้จุลศักราชในสูตรคัมภีร์สุริยยาตร์ ดังนั้น เวลาที่ใช้ในการคำนวณในคัมภีร์สุริยยาตร์น่าจะเป็นเวลาท้องถิ่นสุโขทัย ซึ่งเราจะเรียกว่า เวลามาตรฐานสุโขทัยก็ได้ (เทียบกับเวลามาตรฐาน) แต่ปัจจุบัน ที่มีการคำนวณลงปูมโหรแล้ว น่าจะอนุโลมมาเป็นเวลามาตรฐานกรุงเทพได้
เวลาที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ น่าที่จะเรียกได้ว่า เป็นเวลามาตรฐานกรุงเทพ ซึ่งน่าจะเป็นเวลาที่ถือเป็นเวลามาตรฐานในการคำนวณปฏิทินสุริยยาตร์ของอ.ทองเจือ และ ปูมโหรในสมัยหลังนี้

สรุป การปฏิบัติในการใช้ปฏิทินสุริยยาตร์ (ซึ่งก็คือ ปฏิทินอ.ทองเจือ)
1.
ผู้ที่เกิดหลังพ.. 2463 เอาเวลาเกิดตามสูติบัตร ลบ 18 นาที ทุกจังหวัด ไม่ว่าจะเกิดจังหวัดไหน

2.
เปิดปฏิทิน แล้ว ผูกดวง ตามปกติ ดูเวลาดาวย้ายราศี เทียบกับเวลาเกิดที่คำนวณแล้วตามข้อ 1
เหตุผล

1.
การผูกดวงแบบไม่ตัดเวลา .. 2463 มีการปรับเวลาเป็นเวลามาตรฐานกรีนิช +7 ชม. ทำให้ประเทศไทย (ตอนนั้นใช้เวลาที่ กรุงเทพ) จะต้องปรับเวลาเพิ่มขึ้น 18 นาที ซึ่งแต่เดิม ก่อนปรับเวลานี้ การคำนวณโดยใส่เวลาเข้าไปในสูตรสุริยยาตร์ ก็คือเวลาตัวเลขปกติ ไม่ได้มีการบวก 18 นาที เพราะในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการปรับเวลา อีกทั้งในสูตรของการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์ ก็ไม่มีเรื่องการปรับเวลากรีนิชแน่นอน การคำนวณให้ได้ตามแบบเดิม จึงจะต้องปรับเวลาให้เป็นตัวเลขเวลาแบบเดิม ซึ่งไม่ได้เพิ่ม 18 นาที ดังนั้น การใส่เวลาปัจจุบันตามนาฬิกา ที่มีการเพิ่มไปแล้ว 18 นาที โดยที่ไม่ได้ทำอะไรจะผิดแน่นอน
2.
การผูกดวงโดยตัดเวลาเกิดเป็นเวลาท้องถิ่นแต่ละจังหวัด (ไม่นับการหาลัคนา) จะไม่ถูกเพราะว่า ในการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร์จะคิดเป็นดาวเป็นจุดใดจุดหนึ่ง หากมีการตัดเวลาแต่ละท้องถิ่นเพื่อนำไปคำนวณในสูตรเดียวกัน จะมีผลทำให้เวลาขณะเดียวกัน แต่ ตัวเลขใส่ไปในสูตรไม่เท่ากัน ผลก็คือ องศาดาวที่ได้จะไม่เท่ากัน ซึ่ง ไม่ถูก ตัวอย่างเช่น เกิด 14:00 . ตามเวลานาฬิกา วันที่ 1 มกราคม 2520
จังหวัด อุบลราชธานี ปรับเป็นเวลาท้องถิ่น - 00:00 = 14:00
.
จังหวัด กทม. ปรับเป็นเวลาท้องถิ่น -00:18 = 13:42
.
เมื่อเวลาไม่เท่ากัน ใส่เวลาไปในการคำนวณหา จะได้องศาดาว ไม่เท่ากัน

 

 


 




ความรู้ทางโหราศาสตร์

ราศีเปรียบเทียบแสดงความหมายถึงอุปนิสัย article
ความหมายของภพ article
จันทร์ ครุ สุริยา และดวงจตุสดัยเกณฑ์ article
ดวงพินทุบาทว์ article
คู่ครอง หรือ ปัตนิ article
ดาวเคราะห์ผสมกันบอกลักษณะบุคคล article
คู่ครอง (ปัตนิ) กับเจ้าเรือน article
หลักที่ท่านห้ามเด็ดขาดมิให้สมรสกัน article
ทิศประจำราศี article
พระเคราะห์ให้คุณและโทษ article
ดาวต่าง ๆ โคจรทับลัคนา article
จักรทีปนีจร (ดาวจรกระทบดาวเดิม) article
วิธีพยากรณ์แบบภพผสมภพ article
หลักการพยากรณ์ เรื่องการสมรส article
ตำนานชาติเวร ดาวประจำวันเกิด โดย ส.วรศิลป article
ตำนาน พระอาทิตย์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระจันทร์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระอังคาร ตามชาติเวร article
ตำนาน พระพุธ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระพฤหัสบดี ตามชาติเวร article
ตำนาน พระศุกร์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระเสาร์ ตามชาติเวร article
ตำนาน พระราหู หรือ พุธกลางคืน ตามชาติเวร article
อาทิตย์ ทับ ดาว ต่างๆ article
จันทร์ ทับ ดาวต่าง ๆ article
อังคาร ทับ ดาวต่าง ๆ article
พุธ ทับ ดาวต่าง ๆ article
พฤหัสบดี ทับ ดาวต่าง ๆ article
ศุกร์ ทับ ดาวต่างๆ article
เสาร์ ทับ ดาวต่าง ๆ article
ราหู ทับ ดาวต่าง ๆ article
เกตุ ทับ ดาวต่าง ๆ article
มฤตยู ทับ ดาวต่าง ๆ article
ษัฑพละ article
ระยะต่าง ๆ ของดาวจันทร์ article
เวลาดวงอาทิตย์ ขึ้น-ลง http://www.navy.mi.th/hydro/sun.htm article
พฤหัตชาฎก article
โษฑศวรรค (ตาบอดส่องตะเกียง) article
ฤกษ์ โดย Nemo article
มรณะองศา ของดาวต่าง ๆ (ตาบอดส่องตะเกียง) article
มฤตยู โดย อาจารย์ Nemo article
ฤกษ์โดยตาบอดส่องตะเกียง&นีโม่ article
ภฤคุสูตร โดย Nemo article
" ตฤมศำศ " article
ดาวศุกร์อยู่ราศีใดมีความหมายอย่างไร article
ดาวมาตราฐาน และ ความหมาย article
ตนุจันทร์,สหัชชะ,คู่ครอง,กาลกิณี อยู่ในเรือนต่าง ๆ article
การพยากรณ์พื้นดวงชาตากำเนิดขั้นต้น article
เรื่อง ดาวพักร –เสริด-มนท์ article
ดาวเคราะห์ (ดาวเคลื่อนที่) ระยะห่างของดาว article
กฎ ลบ – ลบ กลายเป็นบวก article
การใช้สี และ อัญมณีประจำวันเกิด
เกณฑ์ดาวคู่มิตร , คู่ธาตุ, คู่สมพล, คู่ศัตรู
เกณฑ์การวางลัคนาดวงฤกษ์ตามกนกกุญชร
ข้อปฏิบัติในการให้ฤกษ์
เทียบเวลาเมืองกรีนิช(อังกฤษ) article
ตารางการเปลี่ยนแปลงเวลาอาทิตย์อุทัย article
ระยะการเดินทางของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ article
ทิศทางที่ให้โทษตามทักษา article
ทิศตามทักษา article
อิทธิพลของดาว อริ, มรณะ, วินาศนะ article
ความหมายของทักษา article
การหาตนุเศษ article
จันทร์ ครุ สุริยา และดวงจตุสดัยเกณฑ์ article
ศัพท์ทานุกรมโหร article
การให้ฤกษ์ฉบับง่าย "พลูหลวง" article
เคล็บลับการพยากรณ์ (1) 001-200 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (2) 201-242 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (3) 243-351 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (4) 352-433 article
เคล็ดลับการพยากรณ์ (5) 434-500 article
เคล็บลับการพยากรณ์ (6) 501-1516 article
ข้อแนะนำในการศึกษาวิชาโหราศาสตร์ article
เรียนโหราศาสตร์ให้รู้จริงได้อย่างไร article
กริ๊ง....สาวมิสทีนมาแล้วค่ะ โดย คนกันเอง article
โหราสาด (ฉบับเรียนรู้ โดยไม่ต้องถาม) อ.สอ้าน(สีดิน) article
ดวง 10 ลัคนา อ.สอ้าน นาคเพชรพูล
ปัญหาเรื่องการตัดเวลาท้องถิ่น อ.สุรพล พฤกษ์ไพบูลย์ article
อาจารย์คนใหม่ วรพล ไม้สน (พลังวัชร์) article
ดูดวงแบบอินเดีย (c_the_moon) โดยอาจารย์ พลังวัชร์ article
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เสถียร โพธินันทะ article
ยามเมื่อดาวเดินถอยหลัง 1 article
ดาวพฤหัสมาเล็งดวงเมืองไทย article
บทความ โดย อาจารย์ สิทธา สิทธิโชค article
มฤตยู โดย อาจารย์ ซิเซโร (ยอดธง ทับทิวไม้ article
มรณะองศาของดาวต่างๆ โดย อ. neemo article
ปกิณกะ โดย อ. neemo article
เรื่องของเกณฑ์ โดย อ. neemo article
เรื่องผลของเรือน โดย อ.neemo article
หลักที่ท่านห้ามเด็ดขาดมิให้สมรสกัน ดังนี้ Name : khemjira article
ภูมิปัญญาจากอดีตสู่ความหวังในอนาคต โดย ทันตแพทย์ธีระพันธ์ แสงไพบูลย์
โหราศาสตร์ไทยพาราณสี โดย ทันตแพทย์ธีระพันธ์
โหราศาสตร์วิชาป้องกันการตายโหง ทันตแพทย์ธีระพันธ์ แสงไพบูลย์ article
ปริศนาช่วยวิเคราะห์เนื่องในวันแดงเดือด 15625 article
ทำไมการปฏิวัติของเราถึงทำในวันที่ 20 กันยา จักรพยุหะ article
วิเคราะห์เนื่องในวันแดงเดือด จักรพยุหะ article
เรื่องจักรพยุหะ จากคุณ 15625 article
คนอียิปต์ จริงใจแต่ไหน ? โดย เอกชัย
“บอกแล้ว....ก็ไม่เชื่อ” โดย เอกชัย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.


-

-


Since 2003 - 7 - 11 Best View 1024 x 768 pixels...... www.horawej.com Email address: horawej@horawej.com
เว็บไซด์โหราเวสม์ (จำหน่ายโปรแกรมโหราศาสตร์ต่าง ๆ เว็บเพื่อการศึกษาทางวิชาโหราศาสตร์) โดย นายวิชิต เตชะเกษม โทร. 08-1844-3372
พร้อมหนังสือ เกี่ยวกับวิชาโหราศาสตร์จาก เขษมบรรณกิจ 25 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กทม 10600
โทร. 02-439-2339, 02-439-7388-9, Fax. 02-439-7387 (หยุดวันอาทิตย์)
www.scb.co.th/