16706 : จากคุณ 15625 [124.120.1.170] 14 Dec 2006 - 19:02 [15 คำตอบ] จักรพยุหะ ขอมอบเรื่องจักรพยุหะนี้ไว้เป็นอัญมณีประดับวงการโหราศาสตร์ไทยไปตราบนานเท่านาน
เรื่องที่เขียนต่อไปนี้ มิได้มีเจตนาจะแสดงความต้องการจะอวดตัวว่ารู้ หรือ ไปขัดแย้งกับความรู้หรือความคิดเห็นของผู้ใดก้หาไม่ แม้คำๆนี้จะไปตรงกันในปกรณ์ต่างๆก็ขอบอกว่าคำเรียกอาจตรงกันได้ ไม่มีใครผิดใครถูก
หากข้อเขียนนี้มีประโยชน์ต่อวงการโหราศาสตร์ไทย ขอนบประโยชน์อันปรากฎนี้แด่บูรพาคณาโหราจารย์สืบๆถ่ายทอดกันมาจนถึงท่านพ่ออาจารย์เทพย์ สาริกบุตร บิดาแห่งวิชาโหรของข้าพเจ้า หากมีข้อผิดพลาดประการใดๆ ข้าพเจ้าผู้เขียนขอรับผิดเพียงผู้เดียว
ข้อเขียนต่อไปนี้ เป็นเรื่องมีข้าพเจ้าผุ้บันทึกได้รับมอบจากท่านพ่ออาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นการสอนแบบปากต่อปาก มิได้บันทึกไว้เป็นตัวอักษร ณ. ตอนที่ท่านสอนในวันนั้น จำได้ว่าเป็นเดือน พฤศจิกายน ปี 2526
วันนั้นท่านอ.เทพย์ถามได้เอยถามข้าพเจ้าว่า " คุณรู้จักคำว่า จักรพยุหะ ไหม " ( ท่านมักจะเรียกสรรพนามบุคคลอื่นว่า คุณ เสมอ ) ข้าพเจ้าถึงกับอึ่ง เกิดมาเพิ่งเคยได้ยินคำๆนี้ เคยได้ยินก็แต่คำว่า พาหุยุทธ หมายถึงวิชาหมัดมวย จึงเรียนตอบท่านไปว่า "ไม่เคยได้ยินครับ ใช่คำเดียวกับ พาหุยุทธ หรือไม่ครับ " ท่านหัวเราะกึ่งยิ้มแล้วบอกว่า "พาหุยุทธ นั่นมันวิชาหมัดมวยไทยโบราณ
จักรพหุยะ เป็นศัพย์ทางโหราศาสตร์ คุณรู้จักระบบทศา หรือ ทักษาที่เขาใช้เป็น บริวาร อายุ เดช ศรี ฯลฯ หรือไม่"
จึงตอบท่านไปว่า " ทศา หรือ ทักษา นี้พอรู้จักครับ" ท่านบอกต่อไปว่า " จริงๆแล้ว จักรพยุหะ กับ ระบบทศา หรือ ทักษา ก็คืออันเดียวกันนั้นแหละ ทศา หรือ ทักษา มาจากคำว่า ทักษิณาวัฎฎ์ อันแปลว่า การเดินเวียนไปทางขวา หรือการโคจรไปทางขวา
ส่วน จักรพายุหะ มาจากคำว่า จักร(การหมุนเป็นวงกลม) + พยุหะ ( พลัง หรือ กำลัง ) ซึ่งหมายถึง ระบบกำลังของดวงดาวที่หมุนเวียนเป็นวงกลม " ขยายความต่อไปว่า ดวงดาวต่างๆที่ทำหน้าที่ในทิศต่างๆมีกำลังดาวแตกต่างกันไป แต่เมื่อรวมกำลังรวมกันแล้ว จะเป็นกำลังดาวรวมกันเท่ากัน 108
แล้วท่านก็ให้ข้าพเจ้าเขียนรูปมหาทักษาขึ้นมา ข้าพเจ้าก็เขียนไล่ดาวขึ้น จากอาทิตย์ที่ตะวันออกเฉียงเหนือ ไป จันทร์ตะวันออก ไปอังคาร ไปพุธ ไปเสาร์ ไปพฤหัสบดี ไปราหู ไปจนสุดที่ศุกร์ที่ทิศเหนือ แล้วก้ใส่กำลังของดาวแต่ละดาวลงไป อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 เสาร์10 พฤหัสบดี 17 ราหู 12 ศุกร์ 21
พอเสร็จแล้วท่านก็ชี้มาที่ ดาวเสาร์ พฤหัส และ ราหู แล้วถามข้าพเจ้าว่า " ทำไมจากพุธเป็นเสาร์ แล้วเป็นพฤหัส แล้วถึงเป็นราหู แล้วไปเป็นศุกร์ ทำไมไม่ไล่จากพุธไปพฤหัสไปศุกร์ไปเสาร์ไปราหูละ "
เอาละชิเรา โดนท่านถามแทงใจ จึงรีบตอบไปถามกลัวเสียฟอร์ม (อันไม่ค่อยจะมี)ไปว่า เพราะว่าเป็นเรื่องที่วางดาวตามธาตุ ไฟ ดิน ลม น้ำ ไฟ ดิน ลม น้ำ ท่านยิ้มแล้วว่า ความจริงก็เป็นตามนั้น แต่สุดประหลาดตรงที่ว่า
ครูโหรท่านวางดาวศุภเคราะห์ ไว้กำกับดาว บาปเคระห์ เหมือนจำเพาะให้ดาวพฤหัสตั้งอยู่ตรงทิศนั้นเพื่อกำหราบดาวเสาร์และราหูไม่ให้มีกำลัง จะเห็นได้ว่าพฤหัสตั้งอนู่ตรงกลางส่องแสงศุภเคราะห์ไปยังทิศต่างๆ และ พฤหัส จะไม่มีวันเป็นกรรกิณีของเสาร์และแม้ว่าจะเป็นกรรกิณีของราหูก็ยังมีกำลังมากกว่าราหูเพื่อกำหราบราหูไว้อีกสถานหนึ่ง (พฤหัส 19 มากกว่าราหู 12 ) และแม้พฤหัสจะเป็นกรรกิณีของราหู ก็เป็นเพียง 1 ปีจรเท่านั้น ( นี่คือที่มาของมหาทศาเสวยอายุว่า คนเกิดพุธกลางคืน ท่านไม่ให้ใช้ราหูมาเป็นดาวเสวยอายุ เพราะพฤหัสจะไม่เป็นกรรกิณีใคร) และการที่ดาวพฤหัสเป็นประธานฝ่ายศุภเคราะห์นี้ และคอยกำหราบความร้ายกาจของดาวเสาร์และราหู นี้เอง โหรท่านจึงเรียกดาวพฤหัสนี้ว่า พฤหัสบดี มาจากคำว่า พฤหัส + บดี (เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่กว่าเทพเจ่าทั้งปวง)
อีกทั้งการที่โลกธาตุจะตั้งอยู่ได้นั้น ฝ่ายศุภเคราะห์ ( ฝ่ายดี หรือ ฝ่ายธรรม ) ย่อมต้องมีกำลังมากกว่าฝ่ายบาปเคราะห์ ( ฝ่ายร้าย หรือ อธรรม ) ลองเอากำลังของดาวฝ่ายศุภเคราะห์ทั้งหมด มารวมกันแล้ว แล้วเอากำลังดาวฝ่ายบาปเคราะห์มารวมกำลังกัน และเอามาลบกันดูก็จะเห็นได้ว่า ฝ่ายศุภเคราะห์กำลังรวมกับมากกว่าฝ่ายศุภเคราะห์รวมกัน เป็นสองเท่า (ฝ่ายศุภเคระห์ จันทร์ 15 + พุธ 17 + พฤหัสบดี 19 + ศุกร์ 21 รวมกันเป็น 72 ) เหนือกว่า (ฝ่ายบาปเคราะห์ อาทิตย์ 6 + อังคาร 8 + เสาร์ 10 + ราหู 12 รวมกันเป็น 36 ) เมื่อมารวมกันเป็น 108 กำลัง จะเห็นได้ว่าฝ่ายศุภเคราะห์มีกำลังมากว่าฝ่ายบาปเคราะห์ เป็น 2 เท่า โลกธาตุนี้จึงตั้งอยู่ได้
นี้คือที่มาแห่ง คำว่า จักรพยุหะ |