3. กาละพละ (KALA BALA) วิธีนี้จะวัดความเข้มแข็งของดาวแต่ละดวงจากช่วงระหว่างวัน กำลังในแต่ละเวลา โดยจะพิจารณาให้หน่วยกำลังตามเงื่อนไขต่อไปนี้ |
1. ทิวาราตรีพละ (Divaratri Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากเวลากลางวันกลางคืน |
2. ปักษพละ (Paksha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากช่วงหนึ่งปักษ์ เท่ากับ 15 วันตามจันทรคติ (lunar days) |
3. ไตรภาคพละ (Thribhaga Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากการแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยช่วงเวลากลางวัน (หมายถึงช่วงที่อาทิตย์อุทัยถึงอาทิตย์ลับฟ้า) |
4. สัปดาห์พละ (Abda Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวประจำปี (lord of the year) |
5. มาศพละ (Masa Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด |
6. วารพละ (Vara Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันที่เจ้าชะตากำเนิด |
7. โหราพละ (Hora Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามหน่วย โหรา |
8. อะยะนะพละ (Ayana Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร |
9. ยุทธพละ (Yuddha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะพบหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันในราศีจักร |
1.ทิวาราตรีพละ (Divaratri Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากเวลากลางวันกลางคืน
- พระจันทร์ ดาวเสาร์และ ดาวอังคาร ซึ่งมีกำลังมากในเวลาเที่ยงคืน แต่จะอ่อนพลังจนหมดในเวลาเที่ยงวัน ดาวเหล่านี้เป็นดาวบาปเคราะห์ (หมายความว่าพระจันทร์ เสาร์ อังคารมีกำลังตอนกลางคืน เพราะกลางคืนมองเห็นพระจันทร์ กลางวันจะมองไม่เห็น อาทิตย์ก็เช่นกัน ดังนั้นคนที่เกิดกลางคืน ถึงพระอาทิตย์จะเด่นเป็นมหาอุจน์ก็ไม่ได้กำลังตามความหมายนี้)
- พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์ จะมีพลังระหว่างกลางวัน เที่ยง และหมดพลังในช่วงเที่ยงคืน ดาวเหล่านี้เป็นศุภเคราะห์
- ดาวพุธนักปรับตัวได้รับการพิจารณาว่ามีพลังตลอดวันตลอดคืน (ตามหลักดาราศาสตร์ดาวพุธจะอยู่ใกล้อาทิตย์มากที่สุดโดยระยะห่างและจะห่างกันไม่เกิน 3 ราศี แสดงว่าพุธได้รับการถ่ายทอดกำลังจากอาทิตย์ตลอดเวลา และทำให้มีกำลังทั้งกลางวันกลางคืน ดังนั้นจึงไม่มีเพศ) นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาโดยเกณฑ์นี้ o ดาวพุธจะได้คะแนนสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ o พระจันทร์ ดาวเสาร์และดาวอังคารจะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงคืนและจะไม่ได้หน่วยกำลัง หากเกิดเวลาเที่ยงวัน o พระอาทิตย์ ดาวพฤหัส และดาวศุกร์จะได้หน่วยกำลังสูงสุดถึง 60 ษัทฎิอัมศะ เพียงแค่เจ้าชะตาเกิดในเวลาเที่ยงวันและไม่ได้รับหน่วยกำลังใดๆหากเกิดในเวลาเที่ยงคืน o หากเจ้าชะตาเกิดในเวลาที่อยู่ระหว่างนั้น ค่าหน่วยกำลังก็จะเฉลี่ยๆไป (the value is interpolated) |
2.ปักษพละ (Paksha Bala) ช่วงหนึ่งปักษ์ เท่ากับ 15 วันตามจันทรคติ (lunar days) เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างขึ้น (the Moon is increasing) จะเป็น ศุกรปักษ์ (Sukla Paksha) เมื่อพระจันทร์เริ่มเข้าข้างแรม (the Moon is decreasing) จะเป็น กฤษณปักษ์ (Krishna Paksha) o ดาวศุภเคราะห์ที่จะได้รับคุณคือ พฤหัส,ดาวศุกร์และดาวจันทร์ (นับจากวันขึ้นแปดค่ำ ถึงแรมแปดค่ำ รวมถึงดาวพุธด้วย ดาวเหล่านี้จะมีพลังเข้มแข็งในช่วง ศุกรปักษ์ o ดาวกลุ่มบาปเคราะห์คือ พระอาทิตย์ , ดาวอังคาร ดาวเสาร์ รวมถึง ดาวพุธที่เสียและ ดาวจันทร์ จะเข้มแข็ง ในช่วง กฤษณปักษ์ แรมแปดค่ำ ถึงขึ้นแปดค่ำ o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง ศุกรปักษ์ ดาวศุภเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวบาปเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วง กฤษณปักษ์ ดาวบาปเคราะห์จะได้รับหน่วยกำลังมาก และดาวศุภเคราะห์จะได้หน่วยกำลังน้อย o หน่วยกำลังสูงสุดที่จะได้รับจากเกณฑ์นี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ o พระจันทร์จะได้รับกำลังเป็นสองเท่าเสมอ |
3. ไตรภาคพละ (Thribhaga Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดจากการแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยช่วงเวลากลางวัน (หมายถึงช่วงที่อาทิตย์อุทัยถึงอาทิตย์ลับฟ้า) สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเท่าๆกัน และช่วงเวลากลางคืน ก็สามารถแบ่งได้เป็นสามช่วงเช่นกัน (เวลากลางคืนนี้นับเฉพาะ ช่วงพระอาทิตย์ลับฟ้าถึงพระอาทิตย์อุทัยเท่านั้นเช่นกัน) o การให้หน่วยคะแนนในระบบนี้ ดาวพฤหัสจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ เสมอ o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางวัน ดาวพุธจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางวัน พระอาทิตย์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ o หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางวัน ดาวเสาร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงแรกของเวลากลางคืน พระจันทร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ o หากเจ้าชะตาเกิดในช่วงที่สองของเวลากลางคืน ดาวศุกร์จะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ o หากเจ้าชะตาเกิดในสุดท้ายของเวลากลางคืน ดาวอังคารจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ
เราอาจสังเกตเห็นบางอย่างที่น่าสนใจในการให้หน่วยกำลัง ของษัฑพละ และนี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ข้อสังเกตในสิ่งเชื่อมโยงระหว่างการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ไตรภาคพละ นี้และการให้ค่าหน่วยกำลังในระบบ ทีคะพละ
- ช่วงแรกของวันจะเป็นช่วงที่ให้ประโยชน์แก่ดาวพุธ - เที่ยงวันให้คุณกับพระอาทิตย์ - ดาวเสาร์จะแข็งแรงสุดๆเมื่ออยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับลัคนา (จุดที่พระอาทิตย์ตก ascendant: the place of the evening Sun) - พระจันทร์และดาวศุกร์ก็แข็งแกร่งในเวลากลางคืน
อย่างไรก็ตาม ใน ทีคะพละ ไม่ได้ให้ค่าความแข็งแรงของ ดาวอังคารตามเกณฑ์ให้คุณนี้ |
4. สัปดาห์พละ (Abda Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าปี (lord of the year) จะได้รับ 15 ษัทฎิอัมศะ - ดาวเจ้าปี คือดาวที่เป็นเจ้าวันในวันแรกของปี ยกตัวอย่างเช่นวันแรกของปีเป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นๆจะปกครองโดยพระอาทิตย์ (พระอาทิตย์เป็นดาวประจำปี) กฎเกณฑ์นี้อาจข้ามยกเว้นไปได้เนื่องจากคัมภีร์โบราณให้คำนวณตั้งแต่วันสร้างโลกว่าเป็นวันอะไร จนถึงยุคสมมุติ ว่าเริ่มต้นจากวันอะไรโดยปัจจุบันนี้อยู่ในยุค กาลียุค โดยยุดนี้เริ่มต้นประมาณ 4000 ปีมาแล้ว วันเริ่มยุคถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นวันพุธ แล้วมาเฉลี่ยต่อปี ก็จะรู้ได้ว่าปีนี้เริ่มจากวันอะไรแล้วถือว่าวันนั้นมีกำลังสูงสุดในปีนั้น |
5. มาศพละ (Masa Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวัน ของวันแรกในแต่ละเดือนที่เจ้าชะตากำเนิดจะได้รับ 30 ษัทฎิอัมศะ |
6. วารพละ (Vara Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามดาวเจ้าวัน ของวันที่เจ้าชะตากำเนิด ดาวเจ้าวันจะได้รับ 45 ษัทฎิอัมศะ |
7. โหราพละ (Hora Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามหน่วย โหรา ดาวที่เป็นเจ้าโหราของเจ้าชะตาจะได้รับ 60 ษัทฎิอัมศะ - ในหนึ่งวันจะแบ่งได้เป็น 24 ชั่วโมงหรือโหรา แต่ละ โหราจะปกครองโดยดาวแต่ละดวง โหราแรกจะปกครองโดยดาวที่ปกครองวันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น วันจันทร์ โหราแรกจะปกครองโดยพระจันทร์ และตามด้วยดาวอื่นๆตามลำดับของสัปดาห์ (ตามตัวอย่างนี้จะตามด้วยดาวอังคาร ดาวพุธ ฯลฯ) หากเจ้าชะตาเกิดในที่ห่างไกลจากศูนย์สูตร ช่วงของโหราจะไม่เท่ากัน เพราะหน่วยเวลาโหราจะแบ่งเป็น 12 โหราในช่วงเวลากลางวัน และ 12 โหราในช่วงเวลากลางคืน |
8. อะยะนะพละ (Ayana Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งหากจะอธิบายอย่างละเอียดจะยาวเกินไป การนับหน่วยกำลังในระบบนี้จะนับตาม อะยะนะพละ ซึ่งเบี่ยง (declination) ไปจากเส้นศูนย์สูตร o ถ้าดาวเคราะห์ใดมีค่าเบี่ยง มุมเอียง เป็น 0 อะยะนะพละ ที่ได้รับเป็น 30 ษัทฎิอัมศะ o สำหรับดาวศุกร์ พระอาทิตย์ อังคาร และ ดาวพฤหัส ในทิศเหนือ (Northern declinations) จะได้รับค่าเพิ่ม แต่หากอยู่ในทางใต้จะถูกลบออกไป ( ดาวเคราะห์ในกลุ่มนี้จะได้ อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ สูงหากอยู่ทางเหนือ) o ดาวเสาร์และพระจันทร์ จะตรงข้ามกับกลุ่มดาวที่กล่าวมา คือจะได้รับ อะยะนะพละ สูงหากอยู่ในทางใต้และได้ค่า อะยะนะพละ น้อยหากอยู่ทางเหนือ o สำหรับดาวพุธมักจะได้รับหน่วยกำลังจากการโคจรเบี่ยงนี้เสมอ (ไม่มีการหักออก ไม่ว่าจะเบี่ยงเหนือ-ใต้)
- หน่วยคะแนนที่สูงสุดในการนับหน่วยคะแนนในระบบนี้คือ 60 ษัทฎิอัมศะ - กฏพิเศษคือ อะยะนะพละ ที่ได้ของพระอาทิตย์จะได้รับการคูณสองเสมอ |
9. ยุทธพละ (Yuddha Bala) การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะพบหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันในราศีจักร
- สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือ คำนวนหาค่า สถานะพละ ทั้งหมดร่วมกับ ทีคะพละ,กาละพละ รวมถึง โหราพละ ของดาวทั้งสองดวงนั้น
- จากนั้นเราก็หาค่าหน่วยกำลังที่ต่างกันของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงได้
- ค่าหน่วยกำลังที่ต่างของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงนี้จะถูกแบ่งเป็นโดยค่าต่างของหน่วยวัดของดาวทั้งสองตามที่เห็นบนท้องฟ้า (difference between the diameters of the two planets as seen in the sky)
- ผลการคำนวณที่ได้คือ ยุทธพละ
- ค่าที่ได้นี้จะต้องนำไปรวมกับ ผลรวมของ กาละพละ ของดาวที่มีคะแนนมากกว่า (ผู้ชนะ) และนำค่าเท่ากันนี้ไปลบออกจากดาวผู้แพ้
- เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจเปรียบการให้หน่วยกำลังในระบบนี้เหมือนการให้คะแนนในการเล่นเกมก็ได้ ผู้ชนะจะได้รับคะแนนพิเศษเพิ่ม ในขณะที่ผู้แพ้ก็โดนหักคะแนน เมื่อคำนวณค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว เราจะนำค่าสรุปที่ได้นี้ไปบวกเพิ่มกับค่ารวมของกาละพละ
|